วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บทที่ ๕ เชื้อรา ( FUNGI )

เชื้อรา ( FUNGI )

การจำแนกเชื้อราและการตรวจวินิจฉัยเชื้อรา

เชื้อราเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของเซลล์แบบ eucaryotic cell ไม่มีคลอโรฟิลล์ มีทั้งที่เป็นเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ พวกที่เป็นหลายเซลล์นั้น แต่ละเซลล์จะมาเรียงต่อกันเป็นเส้นใย ( hypha ) ที่อาจแตกแขนงหรือไม่แตกแขนง มีการสืบพันธุ์ทั้งแบบมีเพศและไม่มีเพศ

สำหรับวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับเชื้อราเรียกว่า Mycology มาจากรากศัพท์เดิมเป็นภาษากรีก คือ

mykes = mushroom และ logos = discourse

นักพฤกษศาสตร์ได้จัดเชื้อราป็นพืชเพราะเชื้อรามีผนังเซลล์และการนำอาหารเข้าสู่เซลล์ในรูปของสารละลาย เชื้อราไม่มีราก ลำตันและใบที่แท้จริง ไม่มีระบบท่อน้ำท่ออาหาร จึงจัดเป็นพืชชั้นต่ำ เราเรียกลักษณะดังกล่าวนี้ว่าทัลลัส ( thallus )

สัณฐานวิทยา

เชื้อรามีทั้งชนิดที่เป็นเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ ซึ่งเซลล์จะเรียงตัวกันอยู่ในแนวเดียวกัน มีลักษณะเป็นเส้นใยพวกเซลล์เดียวได้แก่ยีสต์ ส่วนพวกเป็นเส้นใยได้แก่รา ( mold ) ต่าง ๆ สำหรับขนาดของเชื้อรามีตั้งแต่ - ๕๐ ไมครอนจนถึงมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

เชื้อราโดยทั่วไปมีทัลลัสประกอบด้วยเส้นใยเล็ก ๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เส้นใยแต่ละเส้นเรียก hypha ซึ่ง hypha ถ้าร่วมกันอยู่มาก ๆ เรียก mycelium

เซลล์ของราและยีสต์มีลักษณะทั่วไปเหมือนพืช โดยแต่ละเซลล์มีผนังเป็นสารพวกเซลลูโลส หรือ Chitin กับเซลลูโลส นอกจากนี้ยังมีสารอื่น ๆ แตกต่างกันไปในแต่ละชนิด เช่น penicllium chrysogenum จะมี ๖ - deoxyhoxose rhamnose และ xylose อยู่ด้วย ส่วน polystictus sanguineus มีเฉพาะ xylose เท่านั้น สำหรับที่มีประจุเป็นลบ นอกจากนี้ยังพบ galactosamine ใน Neurospora Sitophila Aspeergillus niger และ Botrytis cinerea อีกด้วย

ส่วนโปรตีนและไขมันที่ผนังเซลล์นั้นมีพบน้อยมาก ในยีสต์พวก Candida albicans พบโปรตีนรวมกับ polysaccharide ที่เรียกว่า polysaccharide - protein complex ส่วนใน saccharomyces จะพบโปรตีนรวมกับ mannan เป็น mannan – protein complex สำหรับ Allomycces macrrogynus พบไขมันเล็กน้อย แต่ที่ผนังเซลล์ของก้านชูสปอร์ ( sporangiophore ) ของรา phycomyces มีไขมันมากกว่า ๒๕ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง นอกจากนี้อาจพบลิกนินที่ผนังเซลล์อีกด้วย ทำให้ผนังเซลล์ทนต่อการถูกทำลายด้วยกรดได้ดี

ภายในเซลล์ของรา มีนิวเคลียสหนึ่งอันหรือมากกว่า ตามปกติการดูเซลล์ของราด้วยกล้องจุลทรรศน์จะไม่เห็นนิวเคลียส เนื่องจากมีขนาดเล็กและโปร่งแสง ต้องใช้วิธีย้อมสีจึงจะเห็นชัดเจนขึ้น

ราบางชนิดจะมีโครงสร้างที่แตกต่างไป เช่น Rhizopus และ Absidia จะมี rhizoid หรือ hold fast และ Aspergillus มี foot cell ยึดเกาะกับวัตถุต่าง ๆ

เส้นใยของรามี ๒ ชนิด คือ

. เส้นใยไม่มีผนังกั้น ( non septate hypha ) ทำให้เป็นท่อทะลุต่อถึงกันโดยตลอด มีไซโตปลาสซึม และนิวเคลียสอยู่ต่อเนื่องกัน เรียกสภาพว่า coenocytic hypha ราชนิดนี้เมื่อมีอายุมากหรือในสภาพที่ไม่เหมาะสมอาจสร้างผนังกั้นขึ้นได้

. เส้นใยมีผนังกั้น (septate hypha ) ซึ่งแต่ละตอนของเส้นใยมีผนังกั้นไว้ ทำให้ดูลักษณะเป็นห้อง ๆ แต่ละห้องมีนิวเคลียสและไซโตปลาสซึม

ลักษณะของเส้นใยดังกล่าวนี้ นำไปใช้ในการจำแนกราเป็นหมวดหมู่

การเจริญของเชื้อรา

เชื้อราที่เป็นเส้นใยจะมีการเจริญออกไปได้สองทิศทางคือ ทางขวางจะเจริญไปจนเต็มที่แล้วจึงหยุด ส่วนการเจริญทางด้านยาวนั้น เส้นใยของราจะงอกยาวออกไปและแตกแขนงอย่างไม่จำกัด ตราบเท่าที่สภาพแวดล้อมยังเหมาะสม สายใยเหล่านี้เรียกว่า mycelium ทำให้รามีขนาดใหญ่จนมองเห็นด้วยตาเปล่า mycelium มีสองชนิดคือ vegetatave mycelium เป็นส่วนที่ยึดเกาะกับอาหาร เพื่อทำหน้าที่นำอาหารไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของทัลลัส อีกชนิดหนึ่งได้แก่ aerial mycelium เป็นส่วนที่ยื่นไปในอากาศ ทำหน้าที่สร้างสปอร์ จึงเรียก mycelium แบบนี้ว่า reproductive mycelium

ในบางระยะของการเจริญอาจพบ mycelium มาเรียงอัดตัวประสานกันเป็นลักษณะคล้ายเนื้อเยื่อ มี ชนิด คือ

. prosenchyma ประกอบด้วย mycelium อัดตัวกันอย่างหลวม ๆ และขนานกันตามความยาว

. pseudoparenchyma ประกอบด้วย mycelium เรียงอัดตัวกันอย่างหนาแน่น มีลักษณะคล้ายเนื้อเยื่อ parenchyma ในพืชชั้นสูง

ในราชั้นสูงบางชนิด จะสร้างเส้นใยเรียงอัดตัวหนาแน่นมาก จนเส้นใยแต่ละเส้นกลมกลืนเป็นเนื้อเยื่อเดียวกันทำให้ผนังเส้นใยมีความแข็งแรง ทนต่อสภาพแวดล้อมไดดีเรียกว่า Rhizomorph

การดำรงชีวิตของเชื้อรา

เนื่องจากเชื้อราไม่มีคลอโรฟิลล์ จึงไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ดังนั้นการดำรงชีวิตส่วนมากจึงต้องอาศัยอาหารสำเร็จรูปที่มีอยู่ในธรรมชาติ ได้แก่ อินทรียสารจากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว โดยเชื้อราจะปล่อยเอนไซม์มาย่อยสลาย จึงเกิดการเน่าเปื่อยผุพังเป็นสารอินทรีย์ขนาดเล็ก สามารถซึมผ่านเข้าสู่เซลล์ได้ โดยทั่วไปแล้วการดำรงชีวิตของเชื้อรามีหลายแบบดังนี้

. saprophyte เป็นเชื้อราที่ได้อินทรียสารจากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว เช่น ซากพืชหรือซากสัตว์ต่าง ๆ เป็นอาหารเชื้อราเหล่านี้ไม่สามารถเจริญบนสิ่งที่มีชีวิตได้จึงจัดว่าเป็นพวก obligate saprophyte

. พาราไซต์ เป็นเชื้อราที่ได้อินทรียสารจากสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ซึ่งเชื้อราพวกนี้บางชนิดเจริญเฉพาะในสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น เรียกว่า พาราไซต์ที่แท้จริง (obligate parasite ) แต่บางชนิดสามารถเจริญบนสิ่งที่มีชีวิตและเมื่อที่มีชีวิตนั้นตาย ก็เจริญบนซากสิ่งที่มีชีวิตนั้นอีก เรียกเชื้อราพวกนี้ว่า facultative parasite

. mutualism เป็นการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น ไลเคนส์ เป็นการอยู่ร่วมกันระหว่างเชื้อรากับสาหร่าย เชื้อราต้องการอาหารสำเร็จรูปเพื่อการดำรงชีวิต แต่บางกรณีพบว่าในที่มีคาร์โบไฮเดรตบางชนิด ( เช่น กลูโคสและมอลโตส ) และไนโตรเจนจากสารอินทรีย์ต่าง ๆ รวมทั้งเกลือแร่ที่จำเป็นบางชนิด เชื้อราจะสามารถสังเคราะห์โปรตีนขึ้นเองได้ จากการศึกษาพบว่ามีแร่ธาตุบางอย่างที่มีความสำคัญต่อการเจริญของเชื้อรา ได้แก่ ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม กำมะถัน โบรอน แมงกานีส ทองแดง โมลิปตินั่ม เหล็ก สังกะสีและแคลเซี่ยม ส่วนแหล่งคาร์บอนที่ดีที่สุด ได้แก่ กลูโคส แหล่งไนโตรเจนที่ดีที่สุดคือสารประกอบอินทรีย์ของไนโตรเจน รองลงมาได้แก่ สารประกอบพวกแอมโมเนียและไนเตรต เมื่อเชื้อราได้รับอาหารเข้าสู่เซลล์ ส่วนหนึ่งจะนำไปใช้ ส่วนที่เหลือจะเก็บสะสมไว้ในรูปของน้ำมันและ glycogen

การทนต่อสภาพแวดล้อม

เนื่องจากเชื้อรามีแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในอากาศในรูปของสปอร์ สปอร์ทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่นความร้อน ความเย็น รังสีอุลตราไวโอเลต และ osmotic pressure สูง ๆ ได้ดี สปอร์ของเชื้อราทนต่อสภาพแวดล้อมได้น้อยกว่าสปอร์แบคทีเรีย แต่ทนได้ดีกว่าเส้นใย เช่น สปอร์ของ puccinia coronata ยังมีชีวิตอยู่ได้ที่อุณหภูมิศูนย์องศา C แต่ถ้าลดอุณหภูมิต่ำลงเป็น - ๑๘ องศา C จะถูกทำลาย ส่วน Aspergillus flavus ที่เก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำถึง - ๗๐ องศา C เมื่อนำมาไว้ในสภาพที่เหมาะสมสามารถเจริญต่อไปได้ สำหรับเส้นใยของเชื้อราจะถูกทำลายหมดที่อุณหภูมิ ๖๐ - ๖๓ องศา C นาน ๓๐ นาที

โดยทั่วไปเชื้อราเจริญได้ช้ากว่าแบคทีเรีย ดังนั้นในการเจริญตามธรรมชาติจึงพบน้อยมาก เชื้อราต้องเจริญในสภาวะที่แบคทีเรียไม่สามารถเจริญได้ เช่น ในที่มีอาหารพวกแป้ง อาหารที่มีความเข้มขันของเกลือหรือน้ำตาลสูง ๆ อาหารที่เป็นกรด เช่น น้ำผลไม้และอาหารแห้งต่าง ๆ นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อราไม่เจริญในที่ขาดก๊าซออกซิเจน ดังนั้นจึงไม่พบเชื้อราในอาหารกระป๋อง แต่เชื้อราบางชนิด เช่น Penicillium roqueforti เจริญได้ในที่มีออกซิเจนน้อย ๆ ได้

ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมโดยเฉพาะด้านความชื้น สปอร์ของเชื้อราจะงอกและเจริญเป็นเส้นใยอย่างรวดเร็วในผลิตภัณฑ์บางชนิดที่ดูดความชื้นได้ดี เช่น หนังฟอก ( leather ) เสื้อผ้าและอาหารตากแห้งต่าง ๆ จึงเน่าเสียได้ง่ายด้วยเชื้อรา

การสืบพันธุ์

เชื้อรามีการสืบพันธุ์ทั้งแบบมีเพศและไม่มีเพศ โดยที่บางชนิดใช้ส่วนของทัลลัสทั้งหมดเปลี่ยนเป็นโครงสร้างทำหน้าที่สืบพันธุ์ เรียกพวกนี้ว่า holocarpic ซึ่งมีพบน้อยมาก แต่บางชนิดทัลลัสบางส่วนจะเปลี่ยนเป็นโครงสร้างทำหน้าที่สืบพันธุ์ เรียกพวกนี้ว่า eucarpic ซึ่งจะมีพบในเชื้อราทั่วไป

การสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศ

การสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศนับว่าเป็นการทวีจำนวนที่สำคัญของเชื้อรา เนื่องจากเกิดได้อย่างรวดเร็วและครั้งละเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีหลายวิธีดังนี้.

. fragmentation เกิดจากเส้นใยที่แตกหักเป็นส่วนๆ สามารถเจริญเป็นเส้นใยใหม่ได้ ส่วนที่หักของเส้นใยนี้เรียกว่า oidia ใน oidia ที่มีอายุมากๆจะมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือค่อนข้างกลม มีผนังหนา ทำหน้าที่คล้ายสปอร์ที่เรียกว่า arthospore

การหักหรือหลุดเป็นท่อนๆ ของเส้นใยนี้อาจเกิดจากแรงกระทำภายนอกหรือเกิดโดยบังเอิญก็ได้ การสืบพันธุ์วิธีนี้นำมาประยุกต์ใช้ในทางจุลชีววิทยา ในการถ่ายเชื้อราในห้องปฏิบัติการนั้น โดยทั่วๆไปเป็นการย้ายส่วนที่หักของเส้นใยไปเพาะเลี้ยงใหม่นั่นเอง

. Fisson เป็นการแบ่งเซลล์ออกเป็นสองส่วน ซึ่งแต่ละเซลล์จะคอดเว้าตรงกลางแล้วหลุดจากกัน พบในพวกยีสต์บางชนิดเท่านั้น

. การแตกหน่อ เกิดจากเซลล์แม่ยื่นพองออกเป็นหน่อเล็กๆ จากนั้นนิวเคลียสจะแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเคลื่อนไปเป็นนิวเคลียสของหน่อ เมื่อหน่อเจริญเต็มที่รอยต่อระหว่างเซลล์แม่และหน่อจะคอดจนขาดออกจากกัน หนอที่ได้จะเจริญเป็นเซลล์ใหม่ต่อไป พบมากในยีสต์

. การสร้างสปอร์ การสร้างสปอร์ของเชื้อราถือว่าเป็นการสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศที่พบมากที่สุด สปอร์มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปดังนี้.-

.clamydospore เกิดจากเซลล์ในเส้นใย ( อาจเป็นเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ก็ได้ ) สร้างผนังหนาขึ้นภายในมีอาหารอยู่มากมายและเซลล์จะสูญเสียน้ำทำให้มีเมตาบอลิซึมต่ำ จึงสามารถพักตัวอยู่ได้เป็นเวลานาน ผนังที่หนานี้ช่วยให้เซลล์ทนต่อความแห้งแล้งและแสงอาทิตย์ได้ดี

.conidiospore หรือ conidia พบมากในพวก Ascomycetes และ Fungi Imperfecti หลายชนิด conidia เป็นสปอร์ที่ไม่มีสิงห่อหุ้ม เกิดที่ปลายของเส้นใยซึ่งทำหน้าที่ชูสปอร์ (conidiospore ) ซึ่งที่ปลายของเส้นใยนี้จะมีเซลล์ที่เรียกว่า sterigma ทำหน้าที่สร้าง conidia

.sporangiospore เป็นสปอร์ที่พบในพวก phycomycetes ที่อยู่บนบก ( โดยเฉพาะ พวก

Zygomycetes ) เกิดจากปลายเส้นใยพองออกคล้ายกระเปาะแล้วต่อมาจะมีผนังกั้นเกิดขึ้น ภายในส่วนกระเปาะนี้มีผนังหนา เจริญเป็นอับสปอร์ ( sporangium ) นิวเคลียสภายในอับสปอร์จะมีการแบ่งตัวหลายๆ ครั้ง โดยมีส่วนของโปรโตปลาสซึมและผนังมาห่อหุ้ม กลายเป็นสปอร์ที่เรียกว่า sporangiospore จำนวนมากมาย เมื่ออับสปอร์แตกทำให้สปอร์เหล่านี้จะแพร่กระจายและจะเจริญเป็นเส้นใยใหมใเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม

.blastospore เป็นเส้นใยที่มีการแตกหน่อเหมือนกับเซลล์ของยีสต์ หน่อนี้เรียกว่า blastospore การแตกหน่อนี้จะเกิดอย่างรวดเร็วในสภาพที่มีออกซิเจนและอุณหภูมิเหมาะสม

สปอร์ที่สร้างเพื่อการสืบพันธุ์ แบบไม่มีเพศดังกล่าวแล้วนี้ แบ่งได้สองชนิดคือ

. สปอร์ที่มีสิ่งห่อหุ้ม เป็นสปอร์ที่เกิดภายในอับสปอร์ สปอร์บางชนิดมีแฟลกเจลลา จึงเคลื่อนที่ได้ เรียกว่า zoospore มักพบในเชื้อราที่อาศัยอยู่ในน้ำ ส่วนสปอร์ไม่เคลื่อนที่เรียกว่า aplanospore เมื่ออัสปอร์ แตก สปอร์แต่ละอันสามารถเจริญเป็นเส้นใยใหม่ต่อไป

. สปอร์ไม่มีสิ่งห่อหุ้ม เกิดที่ปลายของก้านชูสปอร์ สปอร์มีขนาดเล็ก มีรูปร่างแตกต่างกัน เช่น ทรงกลม รูปรี รูปไข่ รูปท่อน ฯลฯ และมีสีหลายสี เช่น ดำ น้ำตาล แดง ส้ม เหลือง ฯลฯ บางชนิดไม่มีสี การเรียงตัวของสปอร์มีหลายแบบ อาจเป็นสปอร์เดี่ยว ๆๆ หรือหลายสปอร์มาเรียงติดกันเป็นลูกโซ่ โดยมีเยื่อเมือกยึดไว้ สปอร์เหล่านี้เมื่อหลุดออกไป จะเจริญเป็นเส้นใยใหม่ได้

การสืบพันธุ์แบบมีเพศ

การสืบพันธุ์แบบมีเพศของเชื้อราเหมือนกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ โดยมีการรวมของนิวเคลียสเข้าด้วยกัน ซึ่งกรรมวิธีในการรวมของนิวเคลียสมี ระยะ ดังนี้.-

. plasmogamy เป็นระยะที่ใช้ไซโตรปลาสซึมของทั้งสองฝ่ายมารวมกัน เป็นเหตุให้นิวเคลียสทั้งสองอันมาอยู่ในเซลล์เดียวกัน และนิวเคลียสนี้มีโครโมโซมเป็น N หรือ haploid

. karyogamy เป็นระยะที่นิวเคลียสทั้งสองมารวมกัน ในเชื้อราชั้นต่ำการรวมของนิวเคลียสจะเกิดอย่างรวดเร็วในทันทีที่มีนิวเคลียสทั้งสองอยู่ในเซลล์เดียวกัน ส่วนในเชื้อราชั้นสูงการรวมของนิวเคลียสจะเกิดได้ช้ามาก จึงมองเห็นในเซลล์มีสองนิวเคลียสเรียกระยะนี้ว่า dikaryon

. meiosis หรือ haploidization เป็นระยะที่นิวเคลียสซึ่งมีโครโมโซมเป็น n จะแบ่งตัวแบบ meiosis เพื่อลดจำนวนโครโมโซมเป็น n

การสืบพันธุ์แบบมีเพศนี้ เชื้อราแต่ละชนิดจะมีโครงสร้างที่เรียกว่า gametangium สำหรับสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียผสมกัน ซึ่งลักษณะการผสมนี้มีหลายวิธี ได้แก่

isogamete เป็นการผสมกันของเซลล์สืบพันธุ์ เพศผู้และเพศเมียที่มีรูปร่างเหมือนกันและขนาดเท่ากัน

anisogamete เป็นการผสมกันของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียที่มีรูปร่างเหมือนกัน แต่ขนาดต่างกัน

oogamete เป็นการผสมกันของเซลล์สืบพันธุ์ เพศผู้และเพศเมียที่มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน

การจำแนกหมวดหมู่ของเชื้อรา

เนื่องจากเชื้อรามีอยู่มากมาย บางชนิดมีลักษณะรูปร่างคล้ายคลึงกันมาก บางชนิดแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน ทำให้นักจุลชีววิทยาพยายามที่จะจัดแบ่งเชื้อราเป็นหมวดหมู่ ในสมัยแรก ๆ การจัดประเภทของเชื้อรายังไม่ถูกต้องตามธรรมชาติที่แท้จริง เพราะขาดความรู้ด้านวิวัฒนาการ แต่ในปัจจุบันความรู้ด้านวิวัฒนาการก้าวหน้าไปไกล การจัดประเภทของเชื้อราจึงถูกต้องมากขึ้น

เชื้อราทั้งหมดอยู่ใน Division Eumycopyta ซึ่งแบ่งเป็น class ได้แก่

Class Phycomycetes

Class Ascomyceetes

Class Basidiomycetes

Class Dcuteromycetes

Class Phycomycetes

เชื้อราใน Class นี้ มีลักษณะที่สำคัญ คือ

. เส้นใยไม่มีผนังกั้น มีนิวเคลียสกระจัดกระจายทั่วเส้นใย ที่เรียกว่า coenocytic hypha

. สร้างสปอร์ภายในอับสปอร์ไม่จำกัดจำนวน

. resting spore เกิดจากการสืบพันธุ์แบบมีเพศ มีผนังหนา ทำให้ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี

. ต้องการความชื้นสูงในการเจริญ ส่วนมากเป็นพวกที่อาศัยอยู่ในน้ำ

. การดำรงชีวิตเป็นแบบ saprophyte และพาราไซด์

สมาชิกในกลุ่มนี้ได้แก่ Rhizopus Mucor Allomyces saprolegnia และ Aibugo

Class Ascomycetes

เชื้อราใน Class นี้มีลักษณะที่สำคัญ คือ

. เส้นใยมีผนังกั้น

. สปอร์แบบมีเพศสร้างภายใน ascus มี ๘ ascospore

. สปอร์แบบไม่มีเพศ ไม่สร้างใน ascus และสปอร์ไม่เคลื่อนที่

. ไม่ต้องการความชื้นมากในการเจริญ

สมาชิกที่สำคัญได้แก่ ยีสต์ , Aspe rgillus และ penicillium

Class Basidiomycetes

เชื้อราใน Class นี้มีลักษณะที่สำคัญ คือ

. เส้นใยมีผนังกั้น

. สปอร์ไม่เคลื่อนที่

. สปอร์แบบมีเพศสร้างบน basidium โดยแต่ละ basidium มี ๔ basidiiospore

. เส้นใยเป็นชนิด binucleate mycelium คือมีสองนิวเคลียสในแต่ละเซลล์

สมาชิกที่สำคัญได้แก่ เห็ดชนิดต่าง ๆ

Class Deuteromycetes

ลักษณะที่สำคัญของเชื้อราใน class นี้ คือเส้นใยมีผนังกั้น การสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศจะสร้างสปอร์แบบ conidia ส่วนการสืบพันธุ์แบบมีเพศยังไม่พบ ถ้าเมื่อไรมีการศึกษาพบว่าเชื้อราเหล่านี้มีการสืบพันธุ์ แบบมีเพศก็จัดไว้ใน class อื่น ๆ ถ้าพบว่ามีการสร้างสปอร์แบบ ascospore ก็จัดไว้ใน class Ascomycetes ถ้าพบว่ามีการสร้างสปอร์แบบ basidiospore ก็จัดอยู่ใน class Basidiomycetes

สมาชิกที่สำคัญได้แก่ พวกที่เป็นสาเหตุของโรคกลาก เกลื้อน Hongkong foot ฯลฯ

ประโยชน์ของเชื้อรา

. เชื้อราพวกที่อยู่ในดินช่วยทำลายเซลล์ลูโลส การผนังของเซลลูโลสจากซากพืชเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ดินกลายเป็นดินอุดมสมบูรณ์ เรื่องนี้มีความสำคัญต่อเกษตรกรมาก เพราะในปีหนึ่ง ๆ มีกิ่งไม้ ใบไม้หรือซากพืชที่เกิดจากเกษตรกรรมทับถมในดินเป็นจำนวนมาก เซลล์ลูโลสเหล่านี้จะถูกย่อยสลายโดยเชื้อราบางชนิดให้กลายเป็นฮิวมัส ซึ่งมีแร่ธาตุต่าง ๆ ที่จำเป็นในการเจริญของพืชอยู่ด้วย

. เชื้อราพวกที่ให้ผลิตภัณฑ์โปรตีนและไขมัน พวกนี้มีคุณค่าทางอาหารสูง ที่สำคัญได้แก่ ยีสต์ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวเยอรมันใช้รา Geotrichum candidum เป็นอาหาร ในปัจจุบันประเทศ

ต่าง ๆ เช่น เยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ จาไมกาและสหรัฐอเมริกา ได้ทำอุตสาหกรรมผลิตอาหารจากยีสต์เพื่อการบริโภคและการเลี้ยงสัตว์ เพราะยีสต์นอกจากจะให้อาหารโปรตีนสูงแล้ว ยังมีวิตามินบีรวมอยู่มากด้วย

สำหรับพวกเห็ดนั้น ได้ใช้บริโภคกันมานานแล้วเช่นกัน แต่ให้คุณค่าทางอาหารน้อยกว่ายีสต์

. เชื้อราที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหมักดอง พวกนี้นำมาใช้ในการหมักแป้ง น้ำตาล หรือ

อินทรียสารบางชนิดแล้วได้ผลิภัณฑ์ต่าง ๆ ออกมา เช่น ทำน้ำซีอิ้ว ทำให้ขนมปังฟูน่ารับประทาน กรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรด citric กรด lactic และกรด malic ตลอดจนผลผลิตแอลกอฮอล์พวก ethyl alcohol

. ป้องกันไม้ผุ ไม้ที่เก็บไว้ใช้งานต่าง ๆ มักได้รับความเสียหายจากเห็ดราเป็นจำนวนมาก แต่ในปัจจุบันได้มีกานค้นคว้า วิจัย หาวิธีการป้องกันเนื้อไม้แบบใหม่ขึ้นโดยวิธีชีวภาพ ซึ่งอาศัยหลักที่ว่าขณะที่เห็ดราทำลายเนื้อไม้ในตอนแรก ๆ นั้น จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เนื้อไม้ได้น้อยมาก เนื่องจากใช้อาหารพวกแป้งและน้ำตาลที่อยู่ในเนื้อไม้มาเป็นอาหารมากกว่าทำลายเนื้อไม้ ทำให้น้ำตาลและสารอาหารที่จำเป็นในการเจริญของเห็ดราหมดไป เป็นผลให้เห็ดราซึ่งเป็นตัวการทำลายไม้ขาดอาหารในระยะแรกของการเจริญบนเนื้อไม้จึงไม่เจริญ

จากการค้นคว้าของสถาบันวิจัยผลิตผลป่าในภาคตะวันออก ( Eastern Forest Product Laboratory ) ของแคนาดา ได้ทดลองเพาะเห็ดราที่ไม่ทำอันตรายต่อเนื้อไม้ลงในไม้ตัวอย่าง - ๓ วัน หลังจากนั้นนำเห็ดราที่ทำลายเนื้อไม้มาเพาะที่ไม้นี้อีกครั้งหนึ่งพบว่าไม้ที่ทดลองจะคงเป็นปกติ แต่ถ้าหากทำการทดลองกลับกัน ไม้จะผุอย่างรวดเร็ว แสดงให้เห็นว่าการรักษาไม้ไม่ให้ผุพังด้วยการทำลายเห็ดรานั้น สามารถป้องกันด้วยเห็ดราที่ไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อไม้อย่างทันท่วงที ซึ่งจะได้รับผลอย่างดียิ่ง แต่ถ้าการป้องกันด้วยวิธีนี้ล่าช้าไปแม้แต่เพียงสัปดาห์เดียว ไม้จะได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงซึ่งปริมาณความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้เกือบจะเท่ากับไม้ที่ไม่ได้ป้องกันแต่อย่างใดเลย

ในปัจจุบัน การป้องกันไม้ผุด้วยวิธีชีวภาพกำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก แต่มีปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ยังไม่ทราบว่าเชื้อเห็ดราที่ป้องกันไม้ผุนี้จะใช้ได้กับไม้ทุกชนิดหรือไม่ หากสามารถใช้กับไม้ทุกชนิดได้แล้ว ก็คงจะนำวิธีนี้มาใช้แทนการฉีดสารเคมีมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้เห็ดราป้องกันไม้ผุยังเป็นผลดีต่อไม้ที่อาบสารเคมีป้องกันรักษาเนื้อไม้ได้ยาก ในกรณีที่การใช้สารเคมียังคงมีความจำเป็นอยู่ เช่น การป้องกันรักษาเนื้อไม้ที่ต้องสัมผัสกับดิน เห็ดราจะมีส่วนช่วยให้สารเคมีซึมเข้าสู่ภายในเนื้อไม้ได้ดีอีกด้วย

. ใช้ในทางการแพทย์

เชื้อราบางชนิดผลิตสารปฏิชีวนะซึ่งใช้ทำลายแบคทีเรียอื่น ๆ ได้ดี เช่น Penicillum chrysogenum ใช้ผลิต pcnicillin Aspergillus fumigatus ใช้ผลิต fumagilln Penicillium griseofulvum ใช้ผลิต griseofulvin และ Nocardia lurida ใช้ผลิต ristocetin

นอกจากนี้ยังได้มีการนำเห็ดบางชนิดไปใช้ในการผลิตยารักษาโรคมะเร็งอีกด้วย เช่น บริษัทอุตสาหกรรมเคมีคุระฮา ในโตเกียว ผลิตยาชื่อ พีเอสเค ซึ่งสกัดได้จากเห็ด คาวาราตะคี เห็ดนี้ขึ้นตามง่ามไม้ นำไปใช้รักษาโรคมะเร็งในกระเพาะ ปอดและอวัยวะอื่น ๆ และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งหรือโรคแทรกซ้อนอีกด้วย

. ใช้ในการศึกษาวิจัย เชื้อราบางชนิดนำไปใช้ในทางวิจัย เพราะมีวงชีวิตที่เหมาะสม เจริญได้รวดเร็ว จึงนำมาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาลักษณะบางอย่าง เช่น Neurospora ใช้ศึกษาลักษณะทางพันธุศาสตร์ ใช้ Aspergillus niger ทดสอบแร่ธาตุ ทองแดงในดิน ในดินที่มีทองแดงสีเชื้อราจะมีสีดำ ถ้ามีทองแดงเพียงเล็กน้อยจะมีสีอ่อน ถ้าไม่มีทองแดงจะมีสีเหลือง

โทษของเชื้อรา

โทษของเชื้อรามีหลายชนิด ได้แก่

. ทำให้เกิดโรค

เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคได้แก่สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ แบ่งได้ดังนี้.-

.มนุษย์ เชื้อราที่เกิดกับมนุษย์จำแนกตามตำแหน่งของโรคที่เกิดในร่างกายได้ดังนี้

. เชื้อราทำให้เกิดโรคบริเวณผิวหนัง ได้แก่ กลากเกลื้อน โรคหูอักเสบ กระจกตาอักเสบ

โรคขี้รังแค

. โรคที่เกิดใต้ผิวหนัง ได้แก่ sporotrichosis

. โรคที่เกิดในอวัยวะภายใน เช่น Cryptococcosis

.พืช เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกับพืชหลายชนิด เช่น smut rust และ downy mildew เกิดความเสียหายแก่พืชผลของเกษตรกรปีละมาก ๆ

. สัตว์ สัตว์เลี้ยงอาจเกิดโรคติดต่อจากเชื้อราได้และสัตว์เหล่านี้จะเป็นพาหนะแพร่โรคไปสู่สัตว์อื่น ๆ เช่น โรคกลากในสุนัข เกิดจากเชื้อ Microsporum canis ส่วนพวก Saprolegnia จะทำให้เกิดโรคตามผิวผนังของปลา

. เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคแพ้ในมนุษย์

เชื้อราพวกที่เป็นสาเหตุของโรคแพ้ที่สำคัญ ได้แก่ Alternaria Phoma Ciadosporium spp. ( โดยเฉพาะ C. Fulvum ) และ Aspergillus spp. ( โดยเฉพาะ A. Fumigatus ) Utilago spp. และ Chaetomium sp. ในโรคแพ้บางชนิด เช่น pneumonitis เกิดจาก Aspergillus clavatus และ A. fumigatus อีกด้วย

. เชื้อราที่สร้างสารพิษ โรคที่เกิดจากสารพิษของเชื้อราที่สำคัญคือ Aflatoxicosis เนื่องมาจาก aflatoxin ที่ผลิตจากเชื้อราหลายชนิด โดยเฉพาะ Aspergillus flavus ซึ่งมีพบตามอาหารทั่วไป ทำให้ผู้บริโภคตายได้

. พิษจากเห็ด

เห็ดที่เป็นพิษต่อมนุษย์ที่สำคัญคือ เห็ดเมา มีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ Amanita muscaria Amanita phalloides และ Coprinus atramentarius เป็นต้น ในเห็ดเหล่านี้จะมีสารพิษแตกต่างกันไปดังนี้

. มัสคารีน ( muscarine ) เป็นสารพิษที่มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่เรียกว่า พาราซิมพาเธติด ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ชีพจรเต้นช้าและไม่เป็นจังหวะ รูม่านตาหด หายใจไม่สะดวก เหงื่อแตก น้ำลายและน้ำตาไหล อาการจะเริ่มปรากฏหลังจากรับประทานแล้ว ๑๕ - ๒๐ นาที

.๒ อะโทรปิน ( atropine ) เป็นสารพิษที่ยับยั้งหรือขัดขวางการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติพาราซิมพาเธติด จะมีอาการต่าง ๆ ตรงข้ามกับสารพิษ ๆ มัสคารีน

.๓ อะมานิติน ( amanitin ) เป็นสารพิษที่ทำลายเซลล์เกือบทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะที่ตับ หัวใจ และไต อาการจะเกิดหลังจากรับประทานแล้ว - ๑๒ ชั่วโมง บางรายอาจถึง ๒๔ ชั่วโมง โดยจะเริ่มมีอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร อาเจียนอย่างรุนแรงและท้องเดินไม่หยุด ต่อมาเกิดเป็นตะคริว ความดันโลหิตต่ำและตายในที่สุดในรายที่หายป่วยจะเกิดอาการแทรกที่ตับ คือ ตับบวมโตและไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ

.๔ ฟัลลอยดิน ( phalloidin ) เป็นสารพิษที่ทำลายตับและยึดเกาะกับโปรตีนที่เซลล์เมมเบรน เป็นผลให้คุณสมบัติด้าน osmotic barrier ของเซลล์เมมเบรนผิดปกติไป

.๕ สารคล้ายเรซิน ( resin – like substance ) เป็นสารพิษที่มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร อาการจะแสดงหลังจากรับประทานแล้ว ๓๐ นาทีถึง สองชั่วโมง โดยเกิดคลื่นไส้ อาเจียนและท้องเดิน

. อนุพันธุ์ ของทริพตามิน , ซิโลไซบินและซิโลซิน ( tryptamine dirivatve : psilocybin , psilocin ) เป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางทำให้เกิดจิตประสาทหลอน อาจจะเกิดอาการภายใน ๓๐ ๖๐ นาที หลังจากรับประทาน ส่วนอาการประสาทหลอนจะเกิดนาน ๕ - ๑๐ ชั่วโมง

. สารคล้ายเตตราเอธิลไธยูแรมไดซัลฟด์ ( tetraethylthiuram disulfide - like substance ) เป็นสารที่จะรวมกับแอลกอฮอล์แล้ว จึงเกิดเป็นพิษเนื่องจากมีแอลกอฮอล์คั่งค้างในร่างกาย อาการที่เกิดขึ้นจะพบภายใน ๓๐ นาทีถึง ๒ ชั่วโมง หายใจหอบ ใจสั่น หน้าแดง ชีพจรเต้นเร็ว แต่ไม่อาเจียนหรือท้องเดิน เห็ดที่มีสารพิษชนิดนี้รับประทานได้โดยไม่เป็นอันตราย ถ้าไม่ดื่มสารที่มีแอลกอฮอล์อยู่ด้วย

3 ความคิดเห็น:

  1. ชอบเรื่องจุลินทรีย์มากๆค่ะ

    ตอบลบ
  2. เครื่องลดความชื้น ป้องกันเชื้อราและกลิ่นอับ

    ตอบลบ
  3. เครื่องลดความชื้น ป้องกันเชื้อราและกลิ่นอับ

    ตอบลบ