วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บทที่ ๘ การเก็บเชื้อจุลินทรีย์จากตัวสัตว์

ประการสำคัญที่จะซันสูตรโรคนั้นอยู่ที่การเก็บตัวอย่างได้ถูกต้องและแน่นอน การเก็บตัวอย่างที่ไม่ถูกต้องทำให้ผลในการชันสูตรผิดพลาดไปได้ หรือทำให้ไม่สามารถที่จะตรวจพบสาเหตุได้ และแน่นอนที่สุดตัวอย่างที่จะทำการรักษา โดยเฉพาะการตรวจเชื้อ ก่อนการให้ยาพวกซัลฟา หรือปฏิชีวนะ เช่น การตรวจทางแบคทีเรีย การเก็บตัวอย่างที่ดีต้องอยู่ในสภาพที่ปลอดจากการแปดเปื้อน ( contamination )ทั้งก่อนและหลังการเก็บ หลังจากการเก็บตัวอย่างแล้วจะต้องรีบนำไปส่งยังห้องปฏิบัติการเร็วที่สุดจำนวนมาทนที่แบคทีเรียเป็นสาเหตุ ทั้งนี้ รวมไปถึงตัวอย่างที่ได้จากการผ่าซาก ซากสัตว์ที่ตายแล้วพบว่าภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง พวกเอนเตอโรแบคทีเรียบางชนิดสามารถที่จะแพร่กระจายเข้าไปในอวัยวะต่าง ๆ นอกทางเดินอาหาร ได้เช่นเดียวกับพวกคลอสตริเดีย มักจะพบบ่อยในเลือดสัตว์ที่ตายนานแล้ว

ผู้ทำการเก็บตัวอย่างสมควรจะต้องบอกชนิดของสัตว์ อายุ เพศ ประวัติการป่วย อัตราการระบาด ลักษณะวิการของโรค เวลาที่สัตว์ตายหรือสาเหตุ เช่น ตายเอง หรือทำการฆ่าเพื่อพิสูจน์โรค เวลาที่ทำการผ่าซากและเวลาที่เก็บตัวอย่างเพื่อส่งห้องทดลอง สิ่งเหล่านี้จะต้องเขียนโดยละเอียด และชัดเจน อีกประการหนึ่งถ้าสามารถชี้แนะได้ว่า สงสัยว่าน่าจะเกิดจากแบคทีเรียชนิดใด หรือโรนคอะไรก็จะเป็นการดียิ่งในการที่จะประกอบการวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ห้องซันสูตร

การเก็บตัวอย่างเพื่อการชันสูตรโรค ควรมีหลักการดังนี้ คือ

. ควรเก็บตัวอย่างจากที่แสดงอาการป่วยอย่างชัดเจน ในกรณีสัตว์ป่วยเป็นฝูง ควรเลือกเก็บตัวอย่างจากสัตว์ที่ตายใหม่ ๆ และสัตว์ที่แสดงอาการป่วยในระยะต่าง ๆ กัน

. ควรแน่ใจว่าตัวอย่างที่เราเก็บสามารถบอกถึงว่าสัตว์นั้นเป็นโรคอะไรได้

. การเก็บตัวอย่างควรทำอย่างระมัดระวัง ไม่ควรให้พวกขนหรือสกปรกเปื้อน ( Contaminate )ตัวอย่างที่เราเก็บ

. เก็บตัวอย่างให้เหมาะสมกับโรค ควรเลือกเก็บตัวอย่างที่ควรเก็บ เพื่อให้สะดวกในการตรวจและบอกผลโดยเร็วที่สุด

เมื่อเก็บตัวอย่างใส่ภาชนะหรือหีบห่อที่เหมาะสมแต่ละชนิดแล้ว เราควรเขียนสิ่งต่อไปนี้แนบกับตัวอย่างที่เก็บด้วย

ประวัติสัตว์ป่วยที่ควรบันทึก คือ

. ชื่อเจ้าของสัตว์ที่อยู่

. ชนิด อายุ เพศของสัตว์

. ช่วงระยะเวลาการเป็นโรค

. อัตราการป่วยและอันตราการตาย

. อาการป่วย

. เมื่อผ่าซากพบวิการอะไรบ้าง

. ประวัติการรักษาและการฉีดวัคซีน

. คาดว่าจะเป็นโรคอะไร

. ประวัติการให้อาหาร

๑๐. เก็บตัวอย่างอะไร ใส่ภาชนะอะไรและส่งอย่าง

๑๑. ชื่อสัตวแพทย์ผู้รับผิดชอบและที่อยู่

ข้อแนะนำในการเก็บตัวอย่างตรวจทางจุลชีววิทยา ( Microbiology )

. กรอกแบบฟอร์มให้ละเอียด ชัดเจน เมื่อส่งสิ่งตรวจโดยเฉพาะ ประวัติ อาการของโรคและวิการที่พบเห็น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการรวดเร็วขึ้น

. สิ่งส่งตรวจควรเก็บจากอวัยวะและบริเวณที่เป็นโรค ทั้งนี้เพราะโรคบางโรคจะพบสาเหตุของโรคได้เฉพาะบริเวณวิการ ( lesions ) เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิการที่เริ่มเกิดขึ้นใหม่ ๆ

. ในกรณีที่ไม่พบวิการของโรค ควรเก็บสิ่งส่งอวัยวะต่อไปนี้ ปอด ตับ ม้าม หัวใจ โดยตัดอวัยวะเหล่านี้ให้ใหญ่เท่าที่จะทำได้ และเก็บใส่ถุงพลาสติกโดยแยกห่อกัน

. ระหว่างการเก็บสิ่งส่งตรวจให้ระมัดระวังการปนเปื้อน (Contamination ) โดยเฉพาะจากการเปิดผ่าลำไส้

. ควรส่งสิ่งส่งตรวจให้ถึงห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาโดยเร็วที่สุด และควรเก็บอยู่ในสภาพเย็นเสมอ ในกรณีที่ล่าช้าควรเก็บไว้ในตู้เย็นก่อนส่ง

ตัวอย่างที่จะเก็บแต่ละชนิด คือ

ชนิดของอวัยวะที่จะเก็บส่งห้องชันสูตร

. สวอป ( swob ) หมายถึงสำลีพันแท่งไม้ที่ผ่านการอบร้อนเพื่อฆ่าเชื้อหรืออบนึ่งโดยไอน้ำ ( autoclaving ) swab อาจจะเก็บไว้ในกระดาษห่อ หรือ ในหลอดทดลองและจุกด้วยสำลีอีกที่หนึ่ง โดยให้อยู่ในลักษณะที่ป้องกันการ Contaminate จากภายนอก

ลักษณะของการใช้ มักจะใช้ป้ายเพื่อเก็บเชื้อจากลำคอ จมูก รูหู ช่องคลอด แผลหลุมลึก ฯลฯ ในบริเวณที่จะใช้ swab ก่อนทำการเก็บเชื้อไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะล้างบริเวณเหล่านั้นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือทำการโรยยาเพื่อการรักษามาก่อน เมื่อทำการเก็บตัวอย่างแล้วจะต้องส่งตรวจไปยังห้องปฏิบัติการทันที่ ถ้าในกรณีใดก็ตามที่ไม่สามารถทำได้ การใช้น้ำเกลือ ( normal saline ) หยอดไปประมาณ ๑ มล.จะช่วยในการป้องกันมิให้ swab แห้ง swab ที่เก็บในลักษณะนี้ไม่ควรจะทิ้งไว้นานเกินกว่า ชั่วโมง ก่อนที่จะถึงห้องปฏิบัติการ

๒. เลือด ( Blood , whole blood ) อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บเลือดควรจะเป็นหลอดที่มีฝาเกลียว หรือขวดที่นึ่งผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ขวดเหล่านี้จะต้องเตรียมโดยการเติม ๒% Sodium citrate ลงไป ๓ มล. หรือ EDTA เพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือด และพบนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อไปพร้อม ๆ กับขวดหรือหลอดทดลองปริมาณที่เก็บควรจะอยู่ในระหว่าง ๑๐ - ๑๒ มล.

กรรมวิธีในการเก็บเลือดควรจะทำความสะอาดบริเวณหลอดเลือดที่จะเจาะเด้วยสบู่หรือโกนขา ฆ่าเชื้อโดยใช้แอลกอฮอล์ )๗๐ % และตามด้วยการทาทิงเจอร์ไอโอดีนก่อนทำการเจาะเลือดประมาณ ๑ - ๕ C.C. นอกจากนี้อุปกรณ์การเจาะควรจะอยู่ในสภาพที่ผ่านการอบนึ่ง เพื่อฆ่าเชื้อแล้วด้วยตัวอย่างของเลือดเมื่อเจาะแล้วจะต้องส่งไปยังห้องซันสูตรในทันที

๓. น้ำสมองและไขสันหลัง ( Cerebrrospinal fluid ) กรรมวิธีเช่นเดียวกับการเก็บตัวอย่างเลือดเมื่อเก็บแล้วส่งห้องซันสูตรทันที่

๔. ปัสสาวะ ( urine ) ภาชนะที่จะใช้ในการเก็บตัวอย่างปัสสาวะควรจะเป็นขวดปากกว้างที่มีเกลียว Elen mayer flask ที่ผ่านการอบฆ่าเชื้อแล้วควรเก็บ Mid stream ของการถ่ายปัสสาวะจะเป็นการดีที่สุดที่จะเก็บตัวอย่าง ทั้งนี้เพื่อมาจากในท่อทางเดินปัสสาวะส่วนต้น ๆ จะมีพวก Saprophytic Bacteria จำนวนมากมายอาศัยอยู่

การเก็บตัวอย่างปัสสาวะโดยการสอด Catheter มีเช่นเดียวกันสมควรจะเก็บจาก Mid stream ยกเว้นแต่การเก็บตัวอย่างโดยการทำ Aspirate เท่านั้นที่สามารถได้น้ำปัสสาวะโดยตรงจากกระเพาะปัสสาวะ ( urinary bladder ) ซึ่งในกรณีนี้นิยมเฉพาะในการเก็บตัวอย่างจากการผ่าซาก

ตัวอย่างจะต้องส่งตรงไปยังห้องปฏิบัติการทันที่ในกรณีที่ทำไม่ได้จะต้องนำเข้าเก็บในตู้เย็นทันที และไม่ควรนานเกิน ๒๔ ชั่วโมง

๕. อุจจาระ ภาชนะที่เก็บมักจะเป็นขวดปากกว้าง หรือถุงพลาสติกที่ใหม่ อุจจาระส่วนใหญ่เมื่อเก็บ

แล้วจะต้องนำส่งห้องชันสูตรทันที ไม่เกินเวลา ๑ - ๒ ชั่วโมง สำคัญที่สุดที่จะต้องเก็บตัวอย่างอุจจาระที่อยู่ในระยะต้น ๆ ของการแสดงอาการผิดปกติของลำไส้ หรือการเป็นโรคอย่างเฉียบพลัน ( Acute stage )

ซึ่งในสภาพเช่นนี้ปริมาณของแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุสามารถที่จะพบได้เป็นจำนวนมาก ๆ จะช่วยในการวินิจฉัยที่ถูกต้องยิ่งขึ้น การใช้ swab ป้ายบริเวณในรูทวารของสัตว์ป่วยไม่ใคร่ที่จะถูกต้องนักในการเก็บตัวอย่างอุจจาระเพื่อทำการตรวจปริมาณของอุจจาระจำนวนมาก ๆ จะช่วยในการที่จะพิสูจน์โดยการเพาะเชื้อจากห้องปฏิบัติการได้ดีกว่า

๖. การผ่าซาก ( Necropsy ) ชิ้นเนื้อจากการผ่าซากอวัยวะที่สงสัย ควรจะตัดให้มีขนาดใหญ่พอสมควร ทั้งนี้เนื่องจากทางห้องปฏิบัติการฆ่าเชื้อบริเวณผิวนอก การเก็บควรจะใส่ถุงพลาสติกแช่เย็นทันที ส่งในสภาพที่แช่เย็นและต้องถึงห้องปฏิบัติการโดยเร็วที่สุด

ก. ชิ้นเนื้อจาก Biopsy ควรพยายามเก็บไม่ให้มีการ Contaminate โดยเก็บในภาชนะที่ sterile

แล้วแช่เย็น

ข. ชิ้นเนื้อจากการผ่าชันสูตรซาก

เช่นในกรณีที่สัตว์ตาย และสงสัยเกี่ยวกับโรคทางเดินอาหารเก็บลำไส้เล็กตอนต้น หรือ ลำไส้ที่มีวิการ ( lesion ) โดยมัดเป็นปล้องยาวประมาณ นิ้ว ส่งไปตรวจพร้อมกับอวัยวะอื่น ๆ เช่นต่อมน้ำเหลืองเหนือลำไส้ ตับ เป็นต้น การเก็บแบบนี้จะต้องแยกถุงเป็นชนิดไม่ควรปะปนกันแช่เย็น

ในการที่จะเก็บเลือดจากหัวใจของสัตว์ที่ทำการผ่าซากควรจะเก็บจากส่วน Right Atrium ก่อนทำการเจาะควรทาบบริเวณนั้นด้วยแผ่นเหล็กเผาไฟเสียก่อน อุปกรณ์การเก็บส่งตัวอย่างเช่น้ดียวกับการเก็บเลือดที่กล่าวมาข้างต้น

๗. ส่งที่ขูดจากผิวหนังเพื่อพิสูจน์เชื้อรา ใช้ใบมีดผ่าตัดขูดบริเวณที่เป็นโรคหรือที่สงสัยจะได้เกล็ดของผิวหนังควรจะเก็บใส่หลอดแก้วหรือจานแก้วเพาะเชื้อที่ sterile แล้วพร้อมกับใบมีดที่ขูด

หมายเหตุ ในกรณีที่สงสัยว่าจะเป็นโรค Anthrax ให้ smear เลือดบน slides ปล่อยให้แห้งแล้ว fix ด้วยเปลวไฟก่อนนำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมกับสิ่งส่งตรวจอื่น ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น