วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง

คณาจารย์ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยาศาสตร์กายภาพ ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต เล่ม ๑ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย จัดพิมพ์ , ๒๕๑๘ หน้า ๒๒๔ ๒๒๖

ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุลชีววิทยาปฏิบัติการ บริษัท นวกนก จำกัด กรุงเทพมหานคร จัดพิมพ์, ๒๕๑๖ ,หน้า ๙๗ ๑๐๒

บัญญัติ สุขศรีงาม ,รศ. จุลชีววิทยาสำหรับพยาบาลศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ , สำนักพิมพ์ โอเดียนสโตร์ , ๒๕๓๗ หน้า ๑๘

พิไลพรรณ พงษ์พูล , รศ.บัญญัติ สุขศรีงาม , จุลชีววิทยาเล่ม ๑ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ชลบุรี , ๒๕๒๑, หน้า ๒๐

ผศ.วิน เชื้อโพธิ์หัก วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวิทยาลัยครูนครปฐม , ๒๕๓๐, หน้า ๑๑๑ - ๑๓๑

บทที่ ๘ การเก็บเชื้อจุลินทรีย์จากตัวสัตว์

ประการสำคัญที่จะซันสูตรโรคนั้นอยู่ที่การเก็บตัวอย่างได้ถูกต้องและแน่นอน การเก็บตัวอย่างที่ไม่ถูกต้องทำให้ผลในการชันสูตรผิดพลาดไปได้ หรือทำให้ไม่สามารถที่จะตรวจพบสาเหตุได้ และแน่นอนที่สุดตัวอย่างที่จะทำการรักษา โดยเฉพาะการตรวจเชื้อ ก่อนการให้ยาพวกซัลฟา หรือปฏิชีวนะ เช่น การตรวจทางแบคทีเรีย การเก็บตัวอย่างที่ดีต้องอยู่ในสภาพที่ปลอดจากการแปดเปื้อน ( contamination )ทั้งก่อนและหลังการเก็บ หลังจากการเก็บตัวอย่างแล้วจะต้องรีบนำไปส่งยังห้องปฏิบัติการเร็วที่สุดจำนวนมาทนที่แบคทีเรียเป็นสาเหตุ ทั้งนี้ รวมไปถึงตัวอย่างที่ได้จากการผ่าซาก ซากสัตว์ที่ตายแล้วพบว่าภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง พวกเอนเตอโรแบคทีเรียบางชนิดสามารถที่จะแพร่กระจายเข้าไปในอวัยวะต่าง ๆ นอกทางเดินอาหาร ได้เช่นเดียวกับพวกคลอสตริเดีย มักจะพบบ่อยในเลือดสัตว์ที่ตายนานแล้ว

ผู้ทำการเก็บตัวอย่างสมควรจะต้องบอกชนิดของสัตว์ อายุ เพศ ประวัติการป่วย อัตราการระบาด ลักษณะวิการของโรค เวลาที่สัตว์ตายหรือสาเหตุ เช่น ตายเอง หรือทำการฆ่าเพื่อพิสูจน์โรค เวลาที่ทำการผ่าซากและเวลาที่เก็บตัวอย่างเพื่อส่งห้องทดลอง สิ่งเหล่านี้จะต้องเขียนโดยละเอียด และชัดเจน อีกประการหนึ่งถ้าสามารถชี้แนะได้ว่า สงสัยว่าน่าจะเกิดจากแบคทีเรียชนิดใด หรือโรนคอะไรก็จะเป็นการดียิ่งในการที่จะประกอบการวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ห้องซันสูตร

การเก็บตัวอย่างเพื่อการชันสูตรโรค ควรมีหลักการดังนี้ คือ

. ควรเก็บตัวอย่างจากที่แสดงอาการป่วยอย่างชัดเจน ในกรณีสัตว์ป่วยเป็นฝูง ควรเลือกเก็บตัวอย่างจากสัตว์ที่ตายใหม่ ๆ และสัตว์ที่แสดงอาการป่วยในระยะต่าง ๆ กัน

. ควรแน่ใจว่าตัวอย่างที่เราเก็บสามารถบอกถึงว่าสัตว์นั้นเป็นโรคอะไรได้

. การเก็บตัวอย่างควรทำอย่างระมัดระวัง ไม่ควรให้พวกขนหรือสกปรกเปื้อน ( Contaminate )ตัวอย่างที่เราเก็บ

. เก็บตัวอย่างให้เหมาะสมกับโรค ควรเลือกเก็บตัวอย่างที่ควรเก็บ เพื่อให้สะดวกในการตรวจและบอกผลโดยเร็วที่สุด

เมื่อเก็บตัวอย่างใส่ภาชนะหรือหีบห่อที่เหมาะสมแต่ละชนิดแล้ว เราควรเขียนสิ่งต่อไปนี้แนบกับตัวอย่างที่เก็บด้วย

ประวัติสัตว์ป่วยที่ควรบันทึก คือ

. ชื่อเจ้าของสัตว์ที่อยู่

. ชนิด อายุ เพศของสัตว์

. ช่วงระยะเวลาการเป็นโรค

. อัตราการป่วยและอันตราการตาย

. อาการป่วย

. เมื่อผ่าซากพบวิการอะไรบ้าง

. ประวัติการรักษาและการฉีดวัคซีน

. คาดว่าจะเป็นโรคอะไร

. ประวัติการให้อาหาร

๑๐. เก็บตัวอย่างอะไร ใส่ภาชนะอะไรและส่งอย่าง

๑๑. ชื่อสัตวแพทย์ผู้รับผิดชอบและที่อยู่

ข้อแนะนำในการเก็บตัวอย่างตรวจทางจุลชีววิทยา ( Microbiology )

. กรอกแบบฟอร์มให้ละเอียด ชัดเจน เมื่อส่งสิ่งตรวจโดยเฉพาะ ประวัติ อาการของโรคและวิการที่พบเห็น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการรวดเร็วขึ้น

. สิ่งส่งตรวจควรเก็บจากอวัยวะและบริเวณที่เป็นโรค ทั้งนี้เพราะโรคบางโรคจะพบสาเหตุของโรคได้เฉพาะบริเวณวิการ ( lesions ) เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิการที่เริ่มเกิดขึ้นใหม่ ๆ

. ในกรณีที่ไม่พบวิการของโรค ควรเก็บสิ่งส่งอวัยวะต่อไปนี้ ปอด ตับ ม้าม หัวใจ โดยตัดอวัยวะเหล่านี้ให้ใหญ่เท่าที่จะทำได้ และเก็บใส่ถุงพลาสติกโดยแยกห่อกัน

. ระหว่างการเก็บสิ่งส่งตรวจให้ระมัดระวังการปนเปื้อน (Contamination ) โดยเฉพาะจากการเปิดผ่าลำไส้

. ควรส่งสิ่งส่งตรวจให้ถึงห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาโดยเร็วที่สุด และควรเก็บอยู่ในสภาพเย็นเสมอ ในกรณีที่ล่าช้าควรเก็บไว้ในตู้เย็นก่อนส่ง

ตัวอย่างที่จะเก็บแต่ละชนิด คือ

ชนิดของอวัยวะที่จะเก็บส่งห้องชันสูตร

. สวอป ( swob ) หมายถึงสำลีพันแท่งไม้ที่ผ่านการอบร้อนเพื่อฆ่าเชื้อหรืออบนึ่งโดยไอน้ำ ( autoclaving ) swab อาจจะเก็บไว้ในกระดาษห่อ หรือ ในหลอดทดลองและจุกด้วยสำลีอีกที่หนึ่ง โดยให้อยู่ในลักษณะที่ป้องกันการ Contaminate จากภายนอก

ลักษณะของการใช้ มักจะใช้ป้ายเพื่อเก็บเชื้อจากลำคอ จมูก รูหู ช่องคลอด แผลหลุมลึก ฯลฯ ในบริเวณที่จะใช้ swab ก่อนทำการเก็บเชื้อไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะล้างบริเวณเหล่านั้นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือทำการโรยยาเพื่อการรักษามาก่อน เมื่อทำการเก็บตัวอย่างแล้วจะต้องส่งตรวจไปยังห้องปฏิบัติการทันที่ ถ้าในกรณีใดก็ตามที่ไม่สามารถทำได้ การใช้น้ำเกลือ ( normal saline ) หยอดไปประมาณ ๑ มล.จะช่วยในการป้องกันมิให้ swab แห้ง swab ที่เก็บในลักษณะนี้ไม่ควรจะทิ้งไว้นานเกินกว่า ชั่วโมง ก่อนที่จะถึงห้องปฏิบัติการ

๒. เลือด ( Blood , whole blood ) อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บเลือดควรจะเป็นหลอดที่มีฝาเกลียว หรือขวดที่นึ่งผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ขวดเหล่านี้จะต้องเตรียมโดยการเติม ๒% Sodium citrate ลงไป ๓ มล. หรือ EDTA เพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือด และพบนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อไปพร้อม ๆ กับขวดหรือหลอดทดลองปริมาณที่เก็บควรจะอยู่ในระหว่าง ๑๐ - ๑๒ มล.

กรรมวิธีในการเก็บเลือดควรจะทำความสะอาดบริเวณหลอดเลือดที่จะเจาะเด้วยสบู่หรือโกนขา ฆ่าเชื้อโดยใช้แอลกอฮอล์ )๗๐ % และตามด้วยการทาทิงเจอร์ไอโอดีนก่อนทำการเจาะเลือดประมาณ ๑ - ๕ C.C. นอกจากนี้อุปกรณ์การเจาะควรจะอยู่ในสภาพที่ผ่านการอบนึ่ง เพื่อฆ่าเชื้อแล้วด้วยตัวอย่างของเลือดเมื่อเจาะแล้วจะต้องส่งไปยังห้องซันสูตรในทันที

๓. น้ำสมองและไขสันหลัง ( Cerebrrospinal fluid ) กรรมวิธีเช่นเดียวกับการเก็บตัวอย่างเลือดเมื่อเก็บแล้วส่งห้องซันสูตรทันที่

๔. ปัสสาวะ ( urine ) ภาชนะที่จะใช้ในการเก็บตัวอย่างปัสสาวะควรจะเป็นขวดปากกว้างที่มีเกลียว Elen mayer flask ที่ผ่านการอบฆ่าเชื้อแล้วควรเก็บ Mid stream ของการถ่ายปัสสาวะจะเป็นการดีที่สุดที่จะเก็บตัวอย่าง ทั้งนี้เพื่อมาจากในท่อทางเดินปัสสาวะส่วนต้น ๆ จะมีพวก Saprophytic Bacteria จำนวนมากมายอาศัยอยู่

การเก็บตัวอย่างปัสสาวะโดยการสอด Catheter มีเช่นเดียวกันสมควรจะเก็บจาก Mid stream ยกเว้นแต่การเก็บตัวอย่างโดยการทำ Aspirate เท่านั้นที่สามารถได้น้ำปัสสาวะโดยตรงจากกระเพาะปัสสาวะ ( urinary bladder ) ซึ่งในกรณีนี้นิยมเฉพาะในการเก็บตัวอย่างจากการผ่าซาก

ตัวอย่างจะต้องส่งตรงไปยังห้องปฏิบัติการทันที่ในกรณีที่ทำไม่ได้จะต้องนำเข้าเก็บในตู้เย็นทันที และไม่ควรนานเกิน ๒๔ ชั่วโมง

๕. อุจจาระ ภาชนะที่เก็บมักจะเป็นขวดปากกว้าง หรือถุงพลาสติกที่ใหม่ อุจจาระส่วนใหญ่เมื่อเก็บ

แล้วจะต้องนำส่งห้องชันสูตรทันที ไม่เกินเวลา ๑ - ๒ ชั่วโมง สำคัญที่สุดที่จะต้องเก็บตัวอย่างอุจจาระที่อยู่ในระยะต้น ๆ ของการแสดงอาการผิดปกติของลำไส้ หรือการเป็นโรคอย่างเฉียบพลัน ( Acute stage )

ซึ่งในสภาพเช่นนี้ปริมาณของแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุสามารถที่จะพบได้เป็นจำนวนมาก ๆ จะช่วยในการวินิจฉัยที่ถูกต้องยิ่งขึ้น การใช้ swab ป้ายบริเวณในรูทวารของสัตว์ป่วยไม่ใคร่ที่จะถูกต้องนักในการเก็บตัวอย่างอุจจาระเพื่อทำการตรวจปริมาณของอุจจาระจำนวนมาก ๆ จะช่วยในการที่จะพิสูจน์โดยการเพาะเชื้อจากห้องปฏิบัติการได้ดีกว่า

๖. การผ่าซาก ( Necropsy ) ชิ้นเนื้อจากการผ่าซากอวัยวะที่สงสัย ควรจะตัดให้มีขนาดใหญ่พอสมควร ทั้งนี้เนื่องจากทางห้องปฏิบัติการฆ่าเชื้อบริเวณผิวนอก การเก็บควรจะใส่ถุงพลาสติกแช่เย็นทันที ส่งในสภาพที่แช่เย็นและต้องถึงห้องปฏิบัติการโดยเร็วที่สุด

ก. ชิ้นเนื้อจาก Biopsy ควรพยายามเก็บไม่ให้มีการ Contaminate โดยเก็บในภาชนะที่ sterile

แล้วแช่เย็น

ข. ชิ้นเนื้อจากการผ่าชันสูตรซาก

เช่นในกรณีที่สัตว์ตาย และสงสัยเกี่ยวกับโรคทางเดินอาหารเก็บลำไส้เล็กตอนต้น หรือ ลำไส้ที่มีวิการ ( lesion ) โดยมัดเป็นปล้องยาวประมาณ นิ้ว ส่งไปตรวจพร้อมกับอวัยวะอื่น ๆ เช่นต่อมน้ำเหลืองเหนือลำไส้ ตับ เป็นต้น การเก็บแบบนี้จะต้องแยกถุงเป็นชนิดไม่ควรปะปนกันแช่เย็น

ในการที่จะเก็บเลือดจากหัวใจของสัตว์ที่ทำการผ่าซากควรจะเก็บจากส่วน Right Atrium ก่อนทำการเจาะควรทาบบริเวณนั้นด้วยแผ่นเหล็กเผาไฟเสียก่อน อุปกรณ์การเก็บส่งตัวอย่างเช่น้ดียวกับการเก็บเลือดที่กล่าวมาข้างต้น

๗. ส่งที่ขูดจากผิวหนังเพื่อพิสูจน์เชื้อรา ใช้ใบมีดผ่าตัดขูดบริเวณที่เป็นโรคหรือที่สงสัยจะได้เกล็ดของผิวหนังควรจะเก็บใส่หลอดแก้วหรือจานแก้วเพาะเชื้อที่ sterile แล้วพร้อมกับใบมีดที่ขูด

หมายเหตุ ในกรณีที่สงสัยว่าจะเป็นโรค Anthrax ให้ smear เลือดบน slides ปล่อยให้แห้งแล้ว fix ด้วยเปลวไฟก่อนนำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมกับสิ่งส่งตรวจอื่น ๆ

บทที่ ๗ การกำจัดและการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์

การกำจัดและการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์

( Destruction and Inhibition of Microorganisms )

จุลินทรีย์มีทั้งที่เป็นประโยชน์และโทษในส่วนที่เป็นโทษนั้น จะก่อให้เกิดการสูญเสีย และการทำลายได้หลายประการ เช่น จุลินทรีย์อาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคแก่มนุษย์ สัตว์ ตลอดจนพืชพรรณธัญญาหารต่าง ๆ จุลินทรีย์อาจปนเปื้อนในอาหาร หรือวัตถุดิบที่ประกอบอาหาร และผลิตสารบางอย่างที่ทำให้อาหารนั้นเปลี่ยนใจจนรับประทานไม่ได้ หรือ ผลิตสารในอาหารทำให้เป็นอันตราย ต่อผู้บริโภคจุลินทรีย์สามารถทำลายวัสดุหลายอย่างตลอดจนข้าวของ เครื่องใช้ เช่น ไม้ หนังสัตว์ ผ้า สะพาน อาคาร บ้านเรือน สีทาบ้าน โบราณวัตถุ ฯลฯ ทำให้เปลี่ยนสภาพไป อันจะเกิดความเสียหายในด้านเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีการที่จะควบคุมจุลินทรีย์ต่าง ๆ เหล่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียดังกล่าว วิธีการควบคุมหมายถึงการฆ่า ( killing ) การยับยั้ง ( inbibbtion ) และการกำจัดจุลินทรีย์ออกไป ( removal ) นั้นเอง บทปฏิบัติการต่อไปนี้ จะแนะนำวิธีการเบื้องต้น เพื่อควบคุมจุลินทรีย์

การกำจัดจุลินทรีย์ หรือ การทำให้ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ และการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ มี อยู่ด้วยกันหลายวิธี ซึ่งอาศัยวิธีการทางฟิสิกส์ เคมี และการใช้สารปฏิชีวนะ

วิธีการทางฟิสิกส์ ( physical method )

เช่นการใช้ความร้อน รังสี การกรอง ความเย็นและความแห้ง

. การใช้ความร้อน ( heat treatments )ความร้อนจะทำให้โปรตีนและส่วนประกอบภายในเซลล์ของจุลีนทรีย์เสียสภาพไป ( irreversible denaturation )และจำพวกที่สร้างสปอร์ การใช้ความร้อนในการฆ่าจุลินทรีย์มี ๒ ซิธี คือ

. ความร้อนแห้ง ( dry heat ) ได้แก่ความร้อนจากเปลวไฟโดยตรง ( flaming ) หรือเผาไฟ ( incineration ) หรือใช้ความร้อนแห้งที่ได้รับจากการแผ่รังสีความร้อนเช่นในตู้อบไอร้อน ( hot air oven ) ซึ่งใช้อุณหภูมิ ๑๖๐ องศาเซสเซียส นาน - ๒ ชั่วโมง ใช้ฆ่าจุลินทรีย์บนวัสดุที่ไม่เสื่อมสลายเมื่อสัมผัสกับความร้อนสูงโดยตรง

. ความร้อนชื้น ( moist heat ) ใช้ความร้อนฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในขณะที่มีความชื้นหรือน้ำอยู่ด้วย ได้แก่การต้ม การนึ่ง การพาสเจอไรส์ ( pasteurization ) การนึ่งโดยใช้ความดันไอน้ำโดยเครื่องมือที่เรียกว่า autoclave

การต้ม ( boiling ) ๑๐๐ องศา C ทำลายเชื้อจุลินทีรย์ได้เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้น จุลินทรีย์ที่มีสปอร์ การพาสเจอไรส์ ที่อุณหภูมิประมาณ ๖๓ องศา C นาน ๓๐ นาที หรือประมาณ ๗๕ องศา C นาน ๑๕ นาที แล้วทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว ใช้ฆ่าจุลินทรีย์ที่ก่อโรคในน้ำนมและเซลล์เจริญของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการเน่าเสียของน้ำนมและผลิตภัณฑ์บางอย่าง เช่น น้ำผลไม้ ไวน์ เป็นต้น

การนึ่งโดยใช้ความดันน้ำ ใช้หม้อนึ่งความดันไอ ๑๕ ปอนด์/ตารางนิ้ว อุณหภูมิ ๑๒๑ องศา C นาน ๑๐- ๑๕ นาที เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ทุกชนิด เรียกว่า การสเตอริไลส์ ( Sterilization )

. การฉายรังสี ( radiation ) ใช้รังสี UV และรังสีแกมม่า ( gamma ray )ในการฆ่าจุลินทรีย์ รังสีทำให้กรดนิวคลิอิก และโปรตีนของจุลินทรีย์เสียสภาพไป ใช้ฆ่าเชื้อในเครื่องมืพลาสติก ในอาหารและผลิตผลทางการเกษตรบางชนิด เป็นต้น

. การกรอง ( filtration ) โดยใช้กระดาษกรองหรือแผ่นเยื่อกรองที่มีรูปขนาดเล็กกว่าจุลินทรีย์ หรือ ๐.๔๕ ไมครอน สามารถใช้แยกจุลินทรีย์ออกได้ วิธีนี้ใช้เมื่อต้องการกำจัดเชื้อในอาหารที่สลายตัวเร็วระเหยง่ายเมื่อถูกความร้อน

. ความเย็น ( Cold storage )การเก็บจุลินทรีย์ในตู้เย็น หรือตู้แช่แข็ง จะยับยั้งการเจิณเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ได้ เนื่องจากเอ็นไซม์ของจุลินทรีย์ ไม่สามารถทำงานได้ที่อุณภูมิต่ำ เช่า ที่ องศา C หรือ -๒๐ องศา C หรือต่ำกว่า ใช้เป็นหลักในการเก็บจุลินทรีย์ไว้เป็นเวลานาน และการถนอมอาหาร

. ความแห้ง ( dehydration ) ความแห้งสามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ใช้เป็นหลักในการเก็บจุลินทรีย์ไว้นาน ๆ โดยวิธีการที่เรียกว่าการทำแห้ง ( lyophilization )

วิธีการทางเคมี ( chemical method )

เป็นการใช้สารเคมีบางชนิด ที่มีคุณสมบัติในการทำลายจุลินทรีย์ เช่น สารที่มีคุณสมบัติเป็นแก๊ส อาทิ Formaldehyde และ ethylene oxide ส่วนสารเคมีที่มักใช้ในรูปสารละลาย เช่น ฟีนอล ฟอร์มาลิน สารเคมีที่ใช้ในการทำลายเซลล์เจริญของจุลินทรีย์ในสิ่งของเครื่องใช้ สิ่งขับถ่ายของผู้ป่วย และจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค เราเรียกสารนั้นว่าเป็น disinfectant ส่วนสารเคมีที่ใช้ทำลายและยับยั้งการเจริญ หรือกิจกรรมของจุลินทรีย์ตามผิวหนัง เนื้อเยื่อ โดยสารนั้นไม่เป็นพิษต่อร่างกาย เรียกว่า antiseptics เช่น ethanol ๗๐ % ด่างทับทิม ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ การตายจองจุลินทรีย์เนื่องมาจากสารเคมี ทำให้โปรตีนและกรดนิวคลิอิกของจุลินทรีย์ เสียสภาพไป อย่างไรก็ตาม การใช้สารเคมีส่วนมาก ไม่มีผลในการทำลายเชื้อได้ทั้งหมด ถึงแม้จะใช้ความเข้มข้นตามกำหนดมาตรฐานก็ตาม

การใช้สารปฏิชีวนะ ( antibiotics )

สารปฏิชีวนะหรือยาปฏิชีวนะสามารถฆ่าหรือยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ได้ ยาปฏิชีวนะแต่ละชนิด จะมีฤทธิ์ต่อจุลินทรีย์เพียงบางชนิดเท่านั้น แต่ยาปฏิชีวนะบางชนิด จะออกฤทธิ์ต่อจุลินทรีย์หลายชนิด เรียกว่าเป็น broad spectrum antibiotics นอกจากนี้ยังขึ้นกับชนิดของจุลินทรีย์ด้วย ปัจจุบันมีการใช้ยาปฏิชีวนะกันอย่างแพร่หลายทำให้เชื้อจุลินทรีย์ หลายชนิดมีการดื้อยาปฏิชีวนะมากขึ้น

การตรวจหาความไวของเชื้อต่อยา ( drug sensitivity test ) จะทำให้ทราบว่าเชื้อจุลินทรีย์ไวต่อยา ( sensitive ) หรือ ( resist ) ต่อยาชนิดใดบ้าง เพื่อจะได้เลือกใช้ยารักษาโรคนั้น ๆ ให้ถูกต้อง

การทดสอบความไวของเชื้อต่อยาทำได้หลายวิธีที่นิยมทำมากที่สุด คือวิธี disc agar diffusion method เพราะว่าสะดวก ประหยัดและใช้เวลาน้อยกว่าวิธีอื่น วิธีทำโดยเทียบเชื้อที่ต้องการจะทดสอบให้มีข่าวขุ่นเท่ากัน Mc Farland Number .( เท่ากับจำนวนเชื้อแบคทีเรียประมาณ .X ๑๐ เซลล์/มล. ) แล้วใช้ sterile swab ป้ายเชื้อแบคทีเรียให้ทั่ว plate ปล่อยทิ้งไว้ - ๕ นาที แล้วจึงวางกระดาษตาปลา ( filter paper disc ) ซึ่งซุบยาปฏิชีวนะชนิดต่าง ๆ ในความเข้มขันที่แน่นอน ลงบนผิวอาหารที่เพาะเชื้อไว้แล้ว จากนั้นนำไปบ่มที่อุณหภูมิ ๓๗ องศาเซลเซียส นาน ๑๖ - ๑๘ ชั่วโมง ถ้าเชื้อนั้นถูกทำลาย หรือถูกยับยั้งด้วยยาปฏิชีวนะชนิดใด ก็จะเห็นบริเวณใส ๆ หรือ clear zone ไม่มีเชื้อเจริญขึ้นรอบ ๆ กระดาษตาปลา เรียกบริเวณใส ๆ นี้ว่า inhibition zone เส้นผ่าศูนย์กลางของ inhidition zone จะแคบหรือกว้าง แตกต่าง ตามชนิดของยา และความไวหรือดื้อยาของเชื้อต่อยานั้น

ยาปฏิชีวนะโดยทั่วไปหมายถึงสารเคมีที่ผลิตโดยจุลินทรีย์บางชนิด แล้วสามารถฆ่าหรือยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์สาเหตุของโรค หรือจุลินทรีย์ชนิดอื่นได้ หรืออาจเป็นสารเคมีซึ่งได้มาจากการสังเคราะห์ทางเคมี แต่ต้องอาศัยโครงสร้างของสารเคมีที่จุลินทรีย์ผลิตขึ้นเป็นแกนกลางในการสังเคราะห์เพื่อเพิ่มโครงสร้างของโมเลกุลใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้สารนั้นมีคุณสมบัติดีขึ้นทั้งในการฆ่าหรือยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์และคุณสมบัติอื่น ๆ ของสารเอง จุลินทรีย์บางชนิด เช่น เชื้อรา pencillium chrysogenum สามารถสร้างสารเพนนิซิลิน แบคทีเรีย streptomyces griseus สามารถสร้างสารสเตรปโตมัยซิน

การป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อไวรัส

การทำลายเชื้อไวรัส

เมื่อเชื้อไวรัสอยู่ภายนอกร่างกายของโฮสต์ จะค่อย ๆ สูญเสียสภาพการติดเชื้อ ซึ่งจะช้าหรือเร็วขึ้นกับสภาวะแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น พวก naked virus มักทนทานกว่าพวก enveloped virus

แต่การทำลายเชื้อไวรัสที่ปนเปื้อนอยู่ในเลือด สารคัดหลั่ง และสิ่งขับถ่ายต่าง ๆ ของผู้ป่วย จำเป็นต้องมีวิธีการมาตรฐานเพื่อให้ได้ผลแน่นอนและรวดเร็ว มิฉะนั้นเชื้อจะแพร่กระจายไปก่อการติดเชื้อแก่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องและผู้ใกล้ชิด นอกจากนี้การทำลายเชื้อไวรัสยังมีวัตถุประสงค์เพื่อฆ่าเชื้อไวรัสที่แปดเปื้อนเครื่องมือเครื่องใช้หรือฆ่าเชื้อไวรัสในการผลิตวัคซีนชนิดเชื้อตายด้วย ซึ่งจะต้องใช้ขบวนการทำลายเชื้อที่แตกต่างกันออกไป

วิธีการทำลายเชื้อไวรัส

ปัจจัยในการทำลายเชื้อไวรัสมีหลายชนิด คือ

. ปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่

ความร้อน มีทั้งความร้อนแห้งและความร้อนชื้น ความร้อนแห้ง ได้แก่ การเผาไฟโดยตรงใช้ตู้เผาหรือเตาเผา ความร้อนชื้น ได้แก่ การต้ม การ autoclave การ pasteurize เป็นต้น

โดยทั่วไปการใช้ความร้อน ๕๐ - ๖๐ องศา C เป็นเวลาครึ่งชั่วโมง จะฆ่าไวรัสส่วนใหญ่ได้ยกเว้นเชื้อที่ทนเป็นพิเศษ เช่น rhinovirus , enterovirus ไวรัสตับอักเสบ บี เป็นต้น การมีสารบางชนิด เช่น

เกลือแมกนีเซียมอยู่ด้วยจะทำให้ไวรัสทนต่อความร้อนมากขึ้น การต้มในน้ำเดือดนาน ๒๐ - ๓๐ นาที จะสามารถฆ่าไวรัสได้ทั้งหมด แต่ถ้าต้องการฆ่าเชื้อทุกชนิดให้หมดอย่างสมบูรณ์รวมทั้งสปอร์ของแบคทีเรีย ต้องใช้วิธี autoclave คือ การนึ่งด้วยไอน้ำที่ความดัน ๑๕ ปอนด์/ตารางนิ้ว อุณหภูมิ ๑๒๑ องศา C จะฆ่าเชื้อได้หมดใน ๑๕ นาที ส่วน pasteurization นั้น มักใช้ฆ่าเชื้อในอาหาร เช่น นม ซึ่ง สามารถฆ่าเชื้อก่อโรคในทางเดินอาหาร รวมทั้ง enteroviruses

ที่อุณหภูมิ องศา C เชื้อไวรัสมีชีวิตอยู่ได้นานหลายวัน และอยู่ได้นานเป็นปีที่ ๗๐ องศา C

แสงอุลตราไวโอเลต ( UV ) เชื้อไวรัสแต่ละชนิดจะไวต่อแสง uv ที่ความยาวคลื่นไม่เท่ากันแต่จะอยู่ในช่วง ๑๐๐ - ๔๐๐ นาโนเมตร ซึ่งหลอด UV ที่ใช้กันทั่วไปให้แสงที่มีความยาวคลื่น ๒๕๔ นาโมเมตร แสง UV มักใช้ในการฆ่าเชื้อในอากาศ เพราะแสงไม่สามารถแทรกผ่านตัวกลางที่เป็นของเหลวหรือของแข็งลงไปได้ จะฆ่าเชื้อได้เฉพาะบริเวณพื้นผิวเท่านั้น

รังสีอื่น ๆ เช่น X - ray , gamma ray ใช้ในการฆ่าเชื้อเครื่องใช้ทางการแพทย์ชนิดใช้แล้วทิ้งหลายชนิด

. สารเคมี ที่สามารถนำมาใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อได้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อได้อย่างรวดเร็วแม้ในความเข้มขันต่ำ ๆ กลไกการทำลายเชื้อไวรัส คือ ละลายไขมันใน envelope หรือทำให้โปรตีนและกรดนิวคิลอิกของไวรัสเสียสภาพไป สารเคมีที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ได้แก่

สารละลาย sodium hypochlorite เป็นสารประกอบของคลอรีน รู้จักกันในนามของน้ำยากัดผ้าให้ขาว เป็นน้ำยาฆ่าเชื้ออเนกประสงค์ที่ให้ผลดีมาก ใช้เป็น disinfectant ( สารเคมีที่ใช้ทำลายเชื้อโรค ใช้กับสิ่งไม่มีชีวิต ) เช็ดโต๊ะทำงานในห้องปฏิบัติการ ฆ่าเชื้อที่แปดเปื้อนภาชนะ และเครื่องใช้ต่าง ๆ แต่มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะ ขนาดใช้คิดตามความเข้มข้นของคลอรีนเท่ากับ .๐๕ / .% หรือ ๕๐๐ ,๐๐๐ ppm ( part per million หมายถึง มีสารหนัก กรัมในน้ำ ล้านลูกบาศก์เซนติเมตร ) ถ้าต้องการฆ่าเชื้อในปริมาณมาก เช่นทำขวดเลือดหรือขวดเชื้อหากจะต้องเพิ่มความเข้มข้นขึ้นอีก ๑๐ เท่า เป็นคลอรีน % หรือ ๑๐,๐๐๐ ppm

Sodium hypochlorite ในรูปของ Dakin s solution ( % ) หรือ Modified Dakin ”s solution ( .% ผสมกับ sodium bicarbonate ) นิยมใช้กับแผลสกปรกมีหนอง เพราะจะกัดเนื้อตายทำให้แผลสะอาดในขนาดความเข้มข้น .% สามารถฆ่าเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี

น้ำยา hypochlorite ควรจะเตรียมใหม่อยู่เสมอ เพราะปริมาณคลอรีนในสารละลายมักระเหยหายไปได้

คลอรีน มักใช้ในการทำลายเชื้อในน้ำประปา สระว่ายน้ำ ฤทธิ์ของคลอรีนจะลดลงหากน้ำมีสภาพเป็นด่างหรือมีอินทรีย์สารปนเปื้อนมาก ที่ ph ..๐ เชื้อไวรัสส่วนใหญ่รวมทั้ง enterovirus จะถูกทำลายด้วยความเข้มข้น .ppm แต่ถ้า ph สูงขึ้น หรือมีอินทรีย์สารปนเปื้อนในน้ำ จะต้องใช้คลอรีนความเข้มข้นสูง

ถ้าใช้ความเข้มข้นถึง ppm จะมีกลิ่นเหม็นและระคายเคืองตา

ไอโอดีน ออกฤทธิ์ทำลายเชื้อได้ดี ไวรัส influenza ถูกฆ่าเชื้อด้วยความเข้มข้นเพียง ๗๐ ppm แต่ความเข้มข้นของไอโอดีนจะอ่อนลงถ้ามีด่างหรืออินทรีย์สารปนอยู่มาก ข้อเสียของไอโอดีน คือ ระคายเคืองเนื้อเยื่อที่ใช้กันอยู่ในรูปของ tincture iodine % แต่ถ้าอยู่ในรูปของ povidone - iodine ( betadine )จะระคายเคืองน้อยลง แต่การออกฤทธิ์สู้ tincture iodine ไม่ได้

Formaldehyde หรือ formalin ๓๗% ทำลายเชื้อได้ดี แต่ทั้งสารละลายและไอ มีพิษต่อเนื้อเยื่อมาก ใช้เป็น disinfectant ได้ผลดี ความเข้มข้น ๑.% สามารถฆ่าไวรัสเริม, % สามารถฆ่าไวรัสตับอักเสบ บี ในความเข้มข้นต่ำ ๆ ๐.๒ - ๐.% นำมาใช้ฆ่าไวรัสเพื่อผลิตวัคซีนเพราะจะไม่ทำลายแอนติเจนของเชื้อ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ในรูปก๊าช เพื่ออบห้องวฆ่าเชื้อในอากาศ โดยนำ formalin มาทำให้ร้อนหรือผสมกับด่างทับทิมก็จะกลายเป็นก๊าช

Glutaraldehyde ในรูปของ % ผสมกับ bicarbonate buffer ( cidex ) จะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสได้หมดใน ๑๐ นาที ข้อดี คือ สามารถแช่เครื่องมือที่เป็นยางได้โดยไม่ทำให้ยางเสียสภาพ ซึมเข้าไปในผิวของเครื่องมือได้ดีและล้างออกง่าย

อัลกอฮอล์ ( ethyl alcohol ๗๐ % ) เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้กันมากชนิดหนึ่ง อัลกอฮอล์สามารถตกตะกอนได้ ซึ่งตะกอนโบปตีนนี้จะป้องกันไวรัสไม่ให้ถูกทำลาย การเติม sodium hydroxide ( .๐๐๒% ) สามารถยับยั้งการจับตัวของตะกอนโปรนตีน ทำให้ฤทธิ์การฆ่าเชื้อของอัลกอฮอล์ดีขึ้น เช่น ในเลือด ถ้ามี sodium hydroxide เชื้อไวรัสจะถูกฆ่าได้หมดด้วยความเข้มข้นเพียง ๔๐% สำหรับ isopropyl alcohol ใช้ความเข้มข้น ๗๐% ขึ้นไป ออกฤทธิ์ดีกว่า ethy lalcohol เล็กน้อยแต่ราคาแพงกว่า

Hydrogen peroxide ฤทธิ์ในการทำลายเชื้อไม่ดีนัก แต่ถ้าไม่มีอินทีรย์สารปนอยู่ก็จะสามารถทำลายไวรัสได้ดี ในความเข้มข้นเพียง .% สามารถฆ่าไวรัส AIDS ได้ โดยทั่วไปใช้ความเข้มข้น ๓% มักนำมาใช้ล้างแผล เพราะเมื่อถูกกับเอนไซม์ catalase ในเนื้อเยื่อ ก็จะสลายตัวเกิดก๊าชออกซิเจนเป็นฟองฟู ผลักเอาเศษสิ่งสกปรกให้หลุดออกจากแผล

Benzalkounium chloride ( zephiran ) ออกฤทธิ์เป็นผงซักฟอก ( detergent ) ไปทำลาย envelope ของไวรัส จึงฆ่าได้เฉพาะไวรัส envelope ขนาดความเข้มข้นที่ใช้คือ : ,๐๐๐ ::๑๐,๐๐๐ สารนี้ไม่มีพิษและไม่ระคายเคืองเนื้อเยื้อ ในแผลที่ถูกสุนัขกัดใช้ ๑ - ..% ล้างแผลจะสามารถทำลายเชื้อพิษสุนัขบ้าได้มาก

Phenol สามารถฆ่าไวรัสบางชนิด เมื่อผสมกับสบู่จะออกฤทธิ์ดีขึ้น ที่ใช้กันมีอยู่ในรูปต่าง ๆ เช่น Lysol ใช้เป็น disinfectant , dettol และ phisohex ใช้กับสิ่งมีชีวิตได้

เกลือของโลหะหนัก เช่น silver nitrate .๐๕ N สามารถฆ่าไวรัสได้อย่างรวดเร็ว mercurochrome และ merthiolate มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสอ่อนมาก

B .propiolactone สารนี้ไม่เสถียรเมื่ออยู่ในน้ำจะเกิดการสลายตัว ในความเข้มข้น ๑:,๐๐๐ สามารถนำมาใช้ฆ่าเชื้อเพื่อผลิตวัคซีน

ด่างทับทิม สามารถฆ่าไวรัสได้ด้วยความเข้มข้นเพียง :๑๐,๐๐๐ จะฆ่าเชื้อในครึ่งชั่วโมงที่อุณหภูมิห้อง แต่ถ้ามีอินทรีย์สารปนเปื้อนจะทำให้ฤทธิ์อ่อนลง

Glycols ได้แก่ triethylene และ propylene glycol มักใช้พ่นเป็นละอองฝอยหรือไอใช้ฆ่าเชื้อที่เป็นละอองอยู่ในอากาศ เช่น influenza virus ใช้ความเข้มข้นน้อยกว่า ppm ในอากาศ แต่มีข้อจำกัดคือ ความชื้นต้องอยู่ระหว่าง ๔๕ - ๖๕ % เพราะ glycol จะถูกดูดซึมโดยพื้นผิวที่ชื้อ เช่น ผิวหนัง ทำให้ความเข้มข้นในอากาศลดลง

Ethylene Oxide เป็นก๊าช มักใช้อบฆ่าเชื้อสำหรับวัสดุที่ทนความร้อนไม่ได้ เช่น พลาสติก ก๊าชนี้สามารถซึมผ่านเข้าไปในพลาสติกได้ดี จะออกฤทธิ์ได้ดีต้องมีความชื้นที่เหมาะสม ประมาณ ๔๐ % และอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง เชื้อ vaccinia , polio , parainfluenza จะถูกฆ่าในเวลา ๑๘๐ นาที ที่อุณหภูมิ ๒๘ องศา C แต่ถ้าใช้อุณหภูมิ ๔๘ องศา C จะใช้เวลาเพียง ๖๐ นาที ข้อเสียของก๊าซนี้คือ ระเบิดได้ต้องแก้โดยผสมกับก๊าซเฉื่อยหรือ CO นอกจากนี้ยังมีพิษ ก่อนนำของที่อบก๊าซมาใช้ต้องทิ้งไว้ให้ก๊าซระเหยออกอย่างน้อย ๒๔ ชั่วโมง

การเลือกใช้วิธีทำลายเชื้อ

การเลือกวิธีการและสารเคมีเพื่อใช้ทำลายเชื้อไวรัส มีข้อควรพิจารณา ดังนี้

. วัตถุประสงค์ในการทำลายเชื้อ เช่น เครื่องมือใช้ในการผ่าตัด ต้องการฆ่าเชื้อที่สมบูรณ์แบบ ( complete sterilizion ) จะต้องไม่มีเชื้อเหลืออยู่เลย แม้แต่สปอร์ของแบคทีเรีย ส่วนในการฆ่าเชื้อในเสมหะผู้ป่วยต้องการเพียงฆ่าเชื้อก่อโรคเท่านั้น

การฆ่าเชื้อที่ปนเปื้อนในสารคัดหลัง หรือสิ่งขับถ่ายจากผู้ป่วยมีความสำคัญในการป้องกันการกระจาย ของเชื้อ โดยเฉพาะจะช่วยลดอันตราการติดเชื้อก่อโรคเท่านั้น

การฆ่าเชื้อที่ปนเปื้อนในสารคัดหลัง หรือสิ่งขับถ่ายจากผู้ป่วยมีความสำคัญในการป้องกันการกระจาย ของเชื้อ โดยเฉพาะจะช่วยลดอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล ( nosocomial infection )

. ชนิดของวัสดุที่ต้องการทำลายเชื้อ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ มักนิยมใช้การฆ่าเชื้อด้วยความร้อน โดยเฉพาะการ autoclave เพราะได้ผลแน่นอน ควบคุมคุณภาพได้ง่าย ยกเว้นวัสดุที่ไม่ทนความร้อน ก็อาจเลี่ยงมาใช้ low temperature steam คืออบไอน้ำที่ ๗๒ องศ่า C นาน ๑๐ นาที หรือต้มที่อุณหภูมิ ๗๐ - ๑๐๐ องศา C ซึ่งก็จะฆ่า vegetative form ของแบคทีเรียและไวรัสส่วนใหญ่ได้ หรืออาจเปลี่ยนไปใช้วิธีอื่น ๆ เช่น อบก๊าซ Ethylene Oxide ฉายรังสี แช่ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ

. คุณสมบัติสารเคมีที่เลือกใช้ เช่น สามารถฆ่าเชื้อที่ต้องการได้หรือไม่ ใช้ระยะเวลานานเพียงใด และคุณสมบัติอื่น ๆ เช่น ความระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ ความเป็นพิษ การกัดกร่อนโลหะ การทำให้เกิดสนิม เป็นต้น

. ราคาและความจำเป็นในการใช้งาน เช่น ในหออภิบาลผู้ป่วย พื้น ฝาผนัง เฟอร์นิเจอร์ ไม่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรค การทำความสะอาดตามปรกติ ก็เพียงพอ แต่บริเวณที่มีเสมหะ เลือดอุจาระ หรือสิ่งขับถ่ายอื่นจากผู้ป่วยปนเปื้อน ก็ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่นิยมใช้กันได้แก่ สารละลาย sodium hypochlorite เช่น chlorox และสาร phenol เช่น Lysol ซึ่งมีราคาถูกกว่า chlorox และฆ่าเชื้อทั่วไปได้ดี แต่ฤทธิ์ฆ่าไวรัสม่ดีนัก สำหรับ chlorox นั้นมีฤทธิ์ฆ่าไวรัสได้ดี สามารถฆ่าไวรัสที่มีความทนทานเป็นพิเศษ เช่น ไวรัสตับอักเสบ บี

สรุปวิธีกำจัดและยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์

. ใช้ความร้อน โดยการต้ม นึ่ง อบด้วยไอน้ำ การต้มให้เดือดจุลินทรีย์ส่วนใหญ่จะตาย นอกจากพวกที่สร้างสปอร์จะต้องใช้วิธีอบด้วยไอน้ำ พร้อมทั้งใช้ความดันเข้าช่วย โดยใช้หม้ออบไอน้ำอัตโนมัติ ( Autoclve ) วิธีการเช่นนี้ เรียกว่า การสเตอริไลเซซั่น ( sterilization ) สำหรับอาหารที่เสื่อมคุณค่าง่ายใช้วิธี พาสเจอไรเซซั่น ( pastgerization ) เช่น นม น้ำส้ม จะใช้ความร้อนเพียง ๖๕ องศา C ในเวลา ๓๐ นาที แล้วทำให้เย็นลงทันที่เหลือเพียง ๑๕ องศา C จะทำให้จุลินทรีย์ตาย

. ใช้ความเย็น ความเย็นเพียง ๐ องศา C จุลินทรีย์จะไม่ตายเพียงแต่หยุดเจริญเติบโตเท่านั้น ถ้าจะทำลายจุลินทรีย์ ต้องใช้ความเย็นต่ำกว่า - ๑๐๐ องศา C

. ใช้ยาหรือสารเคมี

สารเคมีที่ทำลายได้เฉพาะบักเตรีที่ไม่สร้างสปอร์เรียกว่า สารแอนตี้เซปติค ( Antisrptic ) เช่น สบู่ เอทธิลแอลกอฮอล์ ๗๐ % ใช้ล้างแผล ทาผิวหนังก่อนฉีดยา ไฮโดรเจนเปอร์ออิกไชด์ ใช้ล้างแผลและผสมกับน้ำใช้ล้างหู

สารเคมีที่ทำลายจุลินทรีย์ที่สร้างสปอร์ได้เรียกว่า ดิสอินเฟคแทนต์ ( Disinfgectants ) สารเคมีประเภทนี้ไม่ใช้กับร่างกาย เช่น กรดคาร์บอลิก ฟินอล ๕ % ปูนขาว ฟอร์มาลิน ใช้ล้างเครื่องมือ ปูนขาวใช้โรยแอ่งน้ำเน่าบริเวณบ้าน กองขยะหรือสิ่งขับถ่าย ฟอร์มาลิน ๑ ส่วนผสมน้ำ ๕๐ ส่วน ใช้เช็ดพื้นฝาห้อง ได้

. ใช้การกรองผ่าแท่งดินเหนียว บักเตรีผ่านไม่ได้ แต่ไวรัสผ่านได้

. ใช้รังสีอุลตราไวโอเลตจากแสงแดดผ่าน

. การทำให้แห้ง

. ใช้เสียง เสียงที่มีความถี่สูงจะสามารถฆ่าบักเตรีได้

. การอาบรังสีแกรมมา เช่น มันฝรั่ง หัวหอมใหญ่ ฯลฯ พลังงานจากรังสีทำลายทั้งเอนไซม์ของพืชและจุลินทรีย์ให้เสื่อมสลาย

( Destruction and Inhibition of Microorganisms )

จุลินทรีย์มีทั้งที่เป็นประโยชน์และโทษในส่วนที่เป็นโทษนั้น จะก่อให้เกิดการสูญเสีย และการทำลายได้หลายประการ เช่น จุลินทรีย์อาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคแก่มนุษย์ สัตว์ ตลอดจนพืชพรรณธัญญาหารต่าง ๆ จุลินทรีย์อาจปนเปื้อนในอาหาร หรือวัตถุดิบที่ประกอบอาหาร และผลิตสารบางอย่างที่ทำให้อาหารนั้นเปลี่ยนใจจนรับประทานไม่ได้ หรือ ผลิตสารในอาหารทำให้เป็นอันตราย ต่อผู้บริโภคจุลินทรีย์สามารถทำลายวัสดุหลายอย่างตลอดจนข้าวของ เครื่องใช้ เช่น ไม้ หนังสัตว์ ผ้า สะพาน อาคาร บ้านเรือน สีทาบ้าน โบราณวัตถุ ฯลฯ ทำให้เปลี่ยนสภาพไป อันจะเกิดความเสียหายในด้านเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีการที่จะควบคุมจุลินทรีย์ต่าง ๆ เหล่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียดังกล่าว วิธีการควบคุมหมายถึงการฆ่า ( killing ) การยับยั้ง ( inbibbtion ) และการกำจัดจุลินทรีย์ออกไป ( removal ) นั้นเอง บทปฏิบัติการต่อไปนี้ จะแนะนำวิธีการเบื้องต้น เพื่อควบคุมจุลินทรีย์

การกำจัดจุลินทรีย์ หรือ การทำให้ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ และการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ มี อยู่ด้วยกันหลายวิธี ซึ่งอาศัยวิธีการทางฟิสิกส์ เคมี และการใช้สารปฏิชีวนะ

วิธีการทางฟิสิกส์ ( physical method )

เช่นการใช้ความร้อน รังสี การกรอง ความเย็นและความแห้ง

. การใช้ความร้อน ( heat treatments )ความร้อนจะทำให้โปรตีนและส่วนประกอบภายในเซลล์ของจุลีนทรีย์เสียสภาพไป ( irreversible denaturation )และจำพวกที่สร้างสปอร์ การใช้ความร้อนในการฆ่าจุลินทรีย์มี ๒ ซิธี คือ

. ความร้อนแห้ง ( dry heat ) ได้แก่ความร้อนจากเปลวไฟโดยตรง ( flaming ) หรือเผาไฟ ( incineration ) หรือใช้ความร้อนแห้งที่ได้รับจากการแผ่รังสีความร้อนเช่นในตู้อบไอร้อน ( hot air oven ) ซึ่งใช้อุณหภูมิ ๑๖๐ องศาเซสเซียส นาน - ๒ ชั่วโมง ใช้ฆ่าจุลินทรีย์บนวัสดุที่ไม่เสื่อมสลายเมื่อสัมผัสกับความร้อนสูงโดยตรง

. ความร้อนชื้น ( moist heat ) ใช้ความร้อนฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในขณะที่มีความชื้นหรือน้ำอยู่ด้วย ได้แก่การต้ม การนึ่ง การพาสเจอไรส์ ( pasteurization ) การนึ่งโดยใช้ความดันไอน้ำโดยเครื่องมือที่เรียกว่า autoclave

การต้ม ( boiling ) ๑๐๐ องศา C ทำลายเชื้อจุลินทีรย์ได้เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้น จุลินทรีย์ที่มีสปอร์ การพาสเจอไรส์ ที่อุณหภูมิประมาณ ๖๓ องศา C นาน ๓๐ นาที หรือประมาณ ๗๕ องศา C นาน ๑๕ นาที แล้วทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว ใช้ฆ่าจุลินทรีย์ที่ก่อโรคในน้ำนมและเซลล์เจริญของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการเน่าเสียของน้ำนมและผลิตภัณฑ์บางอย่าง เช่น น้ำผลไม้ ไวน์ เป็นต้น

การนึ่งโดยใช้ความดันน้ำ ใช้หม้อนึ่งความดันไอ ๑๕ ปอนด์/ตารางนิ้ว อุณหภูมิ ๑๒๑ องศา C นาน ๑๐- ๑๕ นาที เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ทุกชนิด เรียกว่า การสเตอริไลส์ ( Sterilization )

. การฉายรังสี ( radiation ) ใช้รังสี UV และรังสีแกมม่า ( gamma ray )ในการฆ่าจุลินทรีย์ รังสีทำให้กรดนิวคลิอิก และโปรตีนของจุลินทรีย์เสียสภาพไป ใช้ฆ่าเชื้อในเครื่องมืพลาสติก ในอาหารและผลิตผลทางการเกษตรบางชนิด เป็นต้น

. การกรอง ( filtration ) โดยใช้กระดาษกรองหรือแผ่นเยื่อกรองที่มีรูปขนาดเล็กกว่าจุลินทรีย์ หรือ ๐.๔๕ ไมครอน สามารถใช้แยกจุลินทรีย์ออกได้ วิธีนี้ใช้เมื่อต้องการกำจัดเชื้อในอาหารที่สลายตัวเร็วระเหยง่ายเมื่อถูกความร้อน

. ความเย็น ( Cold storage )การเก็บจุลินทรีย์ในตู้เย็น หรือตู้แช่แข็ง จะยับยั้งการเจิณเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ได้ เนื่องจากเอ็นไซม์ของจุลินทรีย์ ไม่สามารถทำงานได้ที่อุณภูมิต่ำ เช่า ที่ องศา C หรือ -๒๐ องศา C หรือต่ำกว่า ใช้เป็นหลักในการเก็บจุลินทรีย์ไว้เป็นเวลานาน และการถนอมอาหาร

. ความแห้ง ( dehydration ) ความแห้งสามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ใช้เป็นหลักในการเก็บจุลินทรีย์ไว้นาน ๆ โดยวิธีการที่เรียกว่าการทำแห้ง ( lyophilization )

วิธีการทางเคมี ( chemical method )

เป็นการใช้สารเคมีบางชนิด ที่มีคุณสมบัติในการทำลายจุลินทรีย์ เช่น สารที่มีคุณสมบัติเป็นแก๊ส อาทิ Formaldehyde และ ethylene oxide ส่วนสารเคมีที่มักใช้ในรูปสารละลาย เช่น ฟีนอล ฟอร์มาลิน สารเคมีที่ใช้ในการทำลายเซลล์เจริญของจุลินทรีย์ในสิ่งของเครื่องใช้ สิ่งขับถ่ายของผู้ป่วย และจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค เราเรียกสารนั้นว่าเป็น disinfectant ส่วนสารเคมีที่ใช้ทำลายและยับยั้งการเจริญ หรือกิจกรรมของจุลินทรีย์ตามผิวหนัง เนื้อเยื่อ โดยสารนั้นไม่เป็นพิษต่อร่างกาย เรียกว่า antiseptics เช่น ethanol ๗๐ % ด่างทับทิม ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ การตายจองจุลินทรีย์เนื่องมาจากสารเคมี ทำให้โปรตีนและกรดนิวคลิอิกของจุลินทรีย์ เสียสภาพไป อย่างไรก็ตาม การใช้สารเคมีส่วนมาก ไม่มีผลในการทำลายเชื้อได้ทั้งหมด ถึงแม้จะใช้ความเข้มข้นตามกำหนดมาตรฐานก็ตาม

การใช้สารปฏิชีวนะ ( antibiotics )

สารปฏิชีวนะหรือยาปฏิชีวนะสามารถฆ่าหรือยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ได้ ยาปฏิชีวนะแต่ละชนิด จะมีฤทธิ์ต่อจุลินทรีย์เพียงบางชนิดเท่านั้น แต่ยาปฏิชีวนะบางชนิด จะออกฤทธิ์ต่อจุลินทรีย์หลายชนิด เรียกว่าเป็น broad spectrum antibiotics นอกจากนี้ยังขึ้นกับชนิดของจุลินทรีย์ด้วย ปัจจุบันมีการใช้ยาปฏิชีวนะกันอย่างแพร่หลายทำให้เชื้อจุลินทรีย์ หลายชนิดมีการดื้อยาปฏิชีวนะมากขึ้น

การตรวจหาความไวของเชื้อต่อยา ( drug sensitivity test ) จะทำให้ทราบว่าเชื้อจุลินทรีย์ไวต่อยา ( sensitive ) หรือ ( resist ) ต่อยาชนิดใดบ้าง เพื่อจะได้เลือกใช้ยารักษาโรคนั้น ๆ ให้ถูกต้อง

การทดสอบความไวของเชื้อต่อยาทำได้หลายวิธีที่นิยมทำมากที่สุด คือวิธี disc agar diffusion method เพราะว่าสะดวก ประหยัดและใช้เวลาน้อยกว่าวิธีอื่น วิธีทำโดยเทียบเชื้อที่ต้องการจะทดสอบให้มีข่าวขุ่นเท่ากัน Mc Farland Number .( เท่ากับจำนวนเชื้อแบคทีเรียประมาณ .X ๑๐ เซลล์/มล. ) แล้วใช้ sterile swab ป้ายเชื้อแบคทีเรียให้ทั่ว plate ปล่อยทิ้งไว้ - ๕ นาที แล้วจึงวางกระดาษตาปลา ( filter paper disc ) ซึ่งซุบยาปฏิชีวนะชนิดต่าง ๆ ในความเข้มขันที่แน่นอน ลงบนผิวอาหารที่เพาะเชื้อไว้แล้ว จากนั้นนำไปบ่มที่อุณหภูมิ ๓๗ องศาเซลเซียส นาน ๑๖ - ๑๘ ชั่วโมง ถ้าเชื้อนั้นถูกทำลาย หรือถูกยับยั้งด้วยยาปฏิชีวนะชนิดใด ก็จะเห็นบริเวณใส ๆ หรือ clear zone ไม่มีเชื้อเจริญขึ้นรอบ ๆ กระดาษตาปลา เรียกบริเวณใส ๆ นี้ว่า inhibition zone เส้นผ่าศูนย์กลางของ inhidition zone จะแคบหรือกว้าง แตกต่าง ตามชนิดของยา และความไวหรือดื้อยาของเชื้อต่อยานั้น

ยาปฏิชีวนะโดยทั่วไปหมายถึงสารเคมีที่ผลิตโดยจุลินทรีย์บางชนิด แล้วสามารถฆ่าหรือยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์สาเหตุของโรค หรือจุลินทรีย์ชนิดอื่นได้ หรืออาจเป็นสารเคมีซึ่งได้มาจากการสังเคราะห์ทางเคมี แต่ต้องอาศัยโครงสร้างของสารเคมีที่จุลินทรีย์ผลิตขึ้นเป็นแกนกลางในการสังเคราะห์เพื่อเพิ่มโครงสร้างของโมเลกุลใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้สารนั้นมีคุณสมบัติดีขึ้นทั้งในการฆ่าหรือยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์และคุณสมบัติอื่น ๆ ของสารเอง จุลินทรีย์บางชนิด เช่น เชื้อรา pencillium chrysogenum สามารถสร้างสารเพนนิซิลิน แบคทีเรีย streptomyces griseus สามารถสร้างสารสเตรปโตมัยซิน

การป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อไวรัส

การทำลายเชื้อไวรัส

เมื่อเชื้อไวรัสอยู่ภายนอกร่างกายของโฮสต์ จะค่อย ๆ สูญเสียสภาพการติดเชื้อ ซึ่งจะช้าหรือเร็วขึ้นกับสภาวะแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น พวก naked virus มักทนทานกว่าพวก enveloped virus

แต่การทำลายเชื้อไวรัสที่ปนเปื้อนอยู่ในเลือด สารคัดหลั่ง และสิ่งขับถ่ายต่าง ๆ ของผู้ป่วย จำเป็นต้องมีวิธีการมาตรฐานเพื่อให้ได้ผลแน่นอนและรวดเร็ว มิฉะนั้นเชื้อจะแพร่กระจายไปก่อการติดเชื้อแก่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องและผู้ใกล้ชิด นอกจากนี้การทำลายเชื้อไวรัสยังมีวัตถุประสงค์เพื่อฆ่าเชื้อไวรัสที่แปดเปื้อนเครื่องมือเครื่องใช้หรือฆ่าเชื้อไวรัสในการผลิตวัคซีนชนิดเชื้อตายด้วย ซึ่งจะต้องใช้ขบวนการทำลายเชื้อที่แตกต่างกันออกไป

วิธีการทำลายเชื้อไวรัส

ปัจจัยในการทำลายเชื้อไวรัสมีหลายชนิด คือ

. ปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่

ความร้อน มีทั้งความร้อนแห้งและความร้อนชื้น ความร้อนแห้ง ได้แก่ การเผาไฟโดยตรงใช้ตู้เผาหรือเตาเผา ความร้อนชื้น ได้แก่ การต้ม การ autoclave การ pasteurize เป็นต้น

โดยทั่วไปการใช้ความร้อน ๕๐ - ๖๐ องศา C เป็นเวลาครึ่งชั่วโมง จะฆ่าไวรัสส่วนใหญ่ได้ยกเว้นเชื้อที่ทนเป็นพิเศษ เช่น rhinovirus , enterovirus ไวรัสตับอักเสบ บี เป็นต้น การมีสารบางชนิด เช่น

เกลือแมกนีเซียมอยู่ด้วยจะทำให้ไวรัสทนต่อความร้อนมากขึ้น การต้มในน้ำเดือดนาน ๒๐ - ๓๐ นาที จะสามารถฆ่าไวรัสได้ทั้งหมด แต่ถ้าต้องการฆ่าเชื้อทุกชนิดให้หมดอย่างสมบูรณ์รวมทั้งสปอร์ของแบคทีเรีย ต้องใช้วิธี autoclave คือ การนึ่งด้วยไอน้ำที่ความดัน ๑๕ ปอนด์/ตารางนิ้ว อุณหภูมิ ๑๒๑ องศา C จะฆ่าเชื้อได้หมดใน ๑๕ นาที ส่วน pasteurization นั้น มักใช้ฆ่าเชื้อในอาหาร เช่น นม ซึ่ง สามารถฆ่าเชื้อก่อโรคในทางเดินอาหาร รวมทั้ง enteroviruses

ที่อุณหภูมิ องศา C เชื้อไวรัสมีชีวิตอยู่ได้นานหลายวัน และอยู่ได้นานเป็นปีที่ ๗๐ องศา C

แสงอุลตราไวโอเลต ( UV ) เชื้อไวรัสแต่ละชนิดจะไวต่อแสง uv ที่ความยาวคลื่นไม่เท่ากันแต่จะอยู่ในช่วง ๑๐๐ - ๔๐๐ นาโนเมตร ซึ่งหลอด UV ที่ใช้กันทั่วไปให้แสงที่มีความยาวคลื่น ๒๕๔ นาโมเมตร แสง UV มักใช้ในการฆ่าเชื้อในอากาศ เพราะแสงไม่สามารถแทรกผ่านตัวกลางที่เป็นของเหลวหรือของแข็งลงไปได้ จะฆ่าเชื้อได้เฉพาะบริเวณพื้นผิวเท่านั้น

รังสีอื่น ๆ เช่น X - ray , gamma ray ใช้ในการฆ่าเชื้อเครื่องใช้ทางการแพทย์ชนิดใช้แล้วทิ้งหลายชนิด

. สารเคมี ที่สามารถนำมาใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อได้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อได้อย่างรวดเร็วแม้ในความเข้มขันต่ำ ๆ กลไกการทำลายเชื้อไวรัส คือ ละลายไขมันใน envelope หรือทำให้โปรตีนและกรดนิวคิลอิกของไวรัสเสียสภาพไป สารเคมีที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ได้แก่

สารละลาย sodium hypochlorite เป็นสารประกอบของคลอรีน รู้จักกันในนามของน้ำยากัดผ้าให้ขาว เป็นน้ำยาฆ่าเชื้ออเนกประสงค์ที่ให้ผลดีมาก ใช้เป็น disinfectant ( สารเคมีที่ใช้ทำลายเชื้อโรค ใช้กับสิ่งไม่มีชีวิต ) เช็ดโต๊ะทำงานในห้องปฏิบัติการ ฆ่าเชื้อที่แปดเปื้อนภาชนะ และเครื่องใช้ต่าง ๆ แต่มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะ ขนาดใช้คิดตามความเข้มข้นของคลอรีนเท่ากับ .๐๕ / .% หรือ ๕๐๐ ,๐๐๐ ppm ( part per million หมายถึง มีสารหนัก กรัมในน้ำ ล้านลูกบาศก์เซนติเมตร ) ถ้าต้องการฆ่าเชื้อในปริมาณมาก เช่นทำขวดเลือดหรือขวดเชื้อหากจะต้องเพิ่มความเข้มข้นขึ้นอีก ๑๐ เท่า เป็นคลอรีน % หรือ ๑๐,๐๐๐ ppm

Sodium hypochlorite ในรูปของ Dakin s solution ( % ) หรือ Modified Dakin ”s solution ( .% ผสมกับ sodium bicarbonate ) นิยมใช้กับแผลสกปรกมีหนอง เพราะจะกัดเนื้อตายทำให้แผลสะอาดในขนาดความเข้มข้น .% สามารถฆ่าเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี

น้ำยา hypochlorite ควรจะเตรียมใหม่อยู่เสมอ เพราะปริมาณคลอรีนในสารละลายมักระเหยหายไปได้

คลอรีน มักใช้ในการทำลายเชื้อในน้ำประปา สระว่ายน้ำ ฤทธิ์ของคลอรีนจะลดลงหากน้ำมีสภาพเป็นด่างหรือมีอินทรีย์สารปนเปื้อนมาก ที่ ph ..๐ เชื้อไวรัสส่วนใหญ่รวมทั้ง enterovirus จะถูกทำลายด้วยความเข้มข้น .ppm แต่ถ้า ph สูงขึ้น หรือมีอินทรีย์สารปนเปื้อนในน้ำ จะต้องใช้คลอรีนความเข้มข้นสูง

ถ้าใช้ความเข้มข้นถึง ppm จะมีกลิ่นเหม็นและระคายเคืองตา

ไอโอดีน ออกฤทธิ์ทำลายเชื้อได้ดี ไวรัส influenza ถูกฆ่าเชื้อด้วยความเข้มข้นเพียง ๗๐ ppm แต่ความเข้มข้นของไอโอดีนจะอ่อนลงถ้ามีด่างหรืออินทรีย์สารปนอยู่มาก ข้อเสียของไอโอดีน คือ ระคายเคืองเนื้อเยื่อที่ใช้กันอยู่ในรูปของ tincture iodine % แต่ถ้าอยู่ในรูปของ povidone - iodine ( betadine )จะระคายเคืองน้อยลง แต่การออกฤทธิ์สู้ tincture iodine ไม่ได้

Formaldehyde หรือ formalin ๓๗% ทำลายเชื้อได้ดี แต่ทั้งสารละลายและไอ มีพิษต่อเนื้อเยื่อมาก ใช้เป็น disinfectant ได้ผลดี ความเข้มข้น ๑.% สามารถฆ่าไวรัสเริม, % สามารถฆ่าไวรัสตับอักเสบ บี ในความเข้มข้นต่ำ ๆ ๐.๒ - ๐.% นำมาใช้ฆ่าไวรัสเพื่อผลิตวัคซีนเพราะจะไม่ทำลายแอนติเจนของเชื้อ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ในรูปก๊าช เพื่ออบห้องวฆ่าเชื้อในอากาศ โดยนำ formalin มาทำให้ร้อนหรือผสมกับด่างทับทิมก็จะกลายเป็นก๊าช

Glutaraldehyde ในรูปของ % ผสมกับ bicarbonate buffer ( cidex ) จะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสได้หมดใน ๑๐ นาที ข้อดี คือ สามารถแช่เครื่องมือที่เป็นยางได้โดยไม่ทำให้ยางเสียสภาพ ซึมเข้าไปในผิวของเครื่องมือได้ดีและล้างออกง่าย

อัลกอฮอล์ ( ethyl alcohol ๗๐ % ) เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้กันมากชนิดหนึ่ง อัลกอฮอล์สามารถตกตะกอนได้ ซึ่งตะกอนโบปตีนนี้จะป้องกันไวรัสไม่ให้ถูกทำลาย การเติม sodium hydroxide ( .๐๐๒% ) สามารถยับยั้งการจับตัวของตะกอนโปรนตีน ทำให้ฤทธิ์การฆ่าเชื้อของอัลกอฮอล์ดีขึ้น เช่น ในเลือด ถ้ามี sodium hydroxide เชื้อไวรัสจะถูกฆ่าได้หมดด้วยความเข้มข้นเพียง ๔๐% สำหรับ isopropyl alcohol ใช้ความเข้มข้น ๗๐% ขึ้นไป ออกฤทธิ์ดีกว่า ethy lalcohol เล็กน้อยแต่ราคาแพงกว่า

Hydrogen peroxide ฤทธิ์ในการทำลายเชื้อไม่ดีนัก แต่ถ้าไม่มีอินทีรย์สารปนอยู่ก็จะสามารถทำลายไวรัสได้ดี ในความเข้มข้นเพียง .% สามารถฆ่าไวรัส AIDS ได้ โดยทั่วไปใช้ความเข้มข้น ๓% มักนำมาใช้ล้างแผล เพราะเมื่อถูกกับเอนไซม์ catalase ในเนื้อเยื่อ ก็จะสลายตัวเกิดก๊าชออกซิเจนเป็นฟองฟู ผลักเอาเศษสิ่งสกปรกให้หลุดออกจากแผล

Benzalkounium chloride ( zephiran ) ออกฤทธิ์เป็นผงซักฟอก ( detergent ) ไปทำลาย envelope ของไวรัส จึงฆ่าได้เฉพาะไวรัส envelope ขนาดความเข้มข้นที่ใช้คือ : ,๐๐๐ ::๑๐,๐๐๐ สารนี้ไม่มีพิษและไม่ระคายเคืองเนื้อเยื้อ ในแผลที่ถูกสุนัขกัดใช้ ๑ - ..% ล้างแผลจะสามารถทำลายเชื้อพิษสุนัขบ้าได้มาก

Phenol สามารถฆ่าไวรัสบางชนิด เมื่อผสมกับสบู่จะออกฤทธิ์ดีขึ้น ที่ใช้กันมีอยู่ในรูปต่าง ๆ เช่น Lysol ใช้เป็น disinfectant , dettol และ phisohex ใช้กับสิ่งมีชีวิตได้

เกลือของโลหะหนัก เช่น silver nitrate .๐๕ N สามารถฆ่าไวรัสได้อย่างรวดเร็ว mercurochrome และ merthiolate มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสอ่อนมาก

B .propiolactone สารนี้ไม่เสถียรเมื่ออยู่ในน้ำจะเกิดการสลายตัว ในความเข้มข้น ๑:,๐๐๐ สามารถนำมาใช้ฆ่าเชื้อเพื่อผลิตวัคซีน

ด่างทับทิม สามารถฆ่าไวรัสได้ด้วยความเข้มข้นเพียง :๑๐,๐๐๐ จะฆ่าเชื้อในครึ่งชั่วโมงที่อุณหภูมิห้อง แต่ถ้ามีอินทรีย์สารปนเปื้อนจะทำให้ฤทธิ์อ่อนลง

Glycols ได้แก่ triethylene และ propylene glycol มักใช้พ่นเป็นละอองฝอยหรือไอใช้ฆ่าเชื้อที่เป็นละอองอยู่ในอากาศ เช่น influenza virus ใช้ความเข้มข้นน้อยกว่า ppm ในอากาศ แต่มีข้อจำกัดคือ ความชื้นต้องอยู่ระหว่าง ๔๕ - ๖๕ % เพราะ glycol จะถูกดูดซึมโดยพื้นผิวที่ชื้อ เช่น ผิวหนัง ทำให้ความเข้มข้นในอากาศลดลง

Ethylene Oxide เป็นก๊าช มักใช้อบฆ่าเชื้อสำหรับวัสดุที่ทนความร้อนไม่ได้ เช่น พลาสติก ก๊าชนี้สามารถซึมผ่านเข้าไปในพลาสติกได้ดี จะออกฤทธิ์ได้ดีต้องมีความชื้นที่เหมาะสม ประมาณ ๔๐ % และอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง เชื้อ vaccinia , polio , parainfluenza จะถูกฆ่าในเวลา ๑๘๐ นาที ที่อุณหภูมิ ๒๘ องศา C แต่ถ้าใช้อุณหภูมิ ๔๘ องศา C จะใช้เวลาเพียง ๖๐ นาที ข้อเสียของก๊าซนี้คือ ระเบิดได้ต้องแก้โดยผสมกับก๊าซเฉื่อยหรือ CO นอกจากนี้ยังมีพิษ ก่อนนำของที่อบก๊าซมาใช้ต้องทิ้งไว้ให้ก๊าซระเหยออกอย่างน้อย ๒๔ ชั่วโมง

การเลือกใช้วิธีทำลายเชื้อ

การเลือกวิธีการและสารเคมีเพื่อใช้ทำลายเชื้อไวรัส มีข้อควรพิจารณา ดังนี้

. วัตถุประสงค์ในการทำลายเชื้อ เช่น เครื่องมือใช้ในการผ่าตัด ต้องการฆ่าเชื้อที่สมบูรณ์แบบ ( complete sterilizion ) จะต้องไม่มีเชื้อเหลืออยู่เลย แม้แต่สปอร์ของแบคทีเรีย ส่วนในการฆ่าเชื้อในเสมหะผู้ป่วยต้องการเพียงฆ่าเชื้อก่อโรคเท่านั้น

การฆ่าเชื้อที่ปนเปื้อนในสารคัดหลัง หรือสิ่งขับถ่ายจากผู้ป่วยมีความสำคัญในการป้องกันการกระจาย ของเชื้อ โดยเฉพาะจะช่วยลดอันตราการติดเชื้อก่อโรคเท่านั้น

การฆ่าเชื้อที่ปนเปื้อนในสารคัดหลัง หรือสิ่งขับถ่ายจากผู้ป่วยมีความสำคัญในการป้องกันการกระจาย ของเชื้อ โดยเฉพาะจะช่วยลดอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล ( nosocomial infection )

. ชนิดของวัสดุที่ต้องการทำลายเชื้อ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ มักนิยมใช้การฆ่าเชื้อด้วยความร้อน โดยเฉพาะการ autoclave เพราะได้ผลแน่นอน ควบคุมคุณภาพได้ง่าย ยกเว้นวัสดุที่ไม่ทนความร้อน ก็อาจเลี่ยงมาใช้ low temperature steam คืออบไอน้ำที่ ๗๒ องศ่า C นาน ๑๐ นาที หรือต้มที่อุณหภูมิ ๗๐ - ๑๐๐ องศา C ซึ่งก็จะฆ่า vegetative form ของแบคทีเรียและไวรัสส่วนใหญ่ได้ หรืออาจเปลี่ยนไปใช้วิธีอื่น ๆ เช่น อบก๊าซ Ethylene Oxide ฉายรังสี แช่ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ

. คุณสมบัติสารเคมีที่เลือกใช้ เช่น สามารถฆ่าเชื้อที่ต้องการได้หรือไม่ ใช้ระยะเวลานานเพียงใด และคุณสมบัติอื่น ๆ เช่น ความระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ ความเป็นพิษ การกัดกร่อนโลหะ การทำให้เกิดสนิม เป็นต้น

. ราคาและความจำเป็นในการใช้งาน เช่น ในหออภิบาลผู้ป่วย พื้น ฝาผนัง เฟอร์นิเจอร์ ไม่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรค การทำความสะอาดตามปรกติ ก็เพียงพอ แต่บริเวณที่มีเสมหะ เลือดอุจาระ หรือสิ่งขับถ่ายอื่นจากผู้ป่วยปนเปื้อน ก็ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่นิยมใช้กันได้แก่ สารละลาย sodium hypochlorite เช่น chlorox และสาร phenol เช่น Lysol ซึ่งมีราคาถูกกว่า chlorox และฆ่าเชื้อทั่วไปได้ดี แต่ฤทธิ์ฆ่าไวรัสม่ดีนัก สำหรับ chlorox นั้นมีฤทธิ์ฆ่าไวรัสได้ดี สามารถฆ่าไวรัสที่มีความทนทานเป็นพิเศษ เช่น ไวรัสตับอักเสบ บี

สรุปวิธีกำจัดและยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์

. ใช้ความร้อน โดยการต้ม นึ่ง อบด้วยไอน้ำ การต้มให้เดือดจุลินทรีย์ส่วนใหญ่จะตาย นอกจากพวกที่สร้างสปอร์จะต้องใช้วิธีอบด้วยไอน้ำ พร้อมทั้งใช้ความดันเข้าช่วย โดยใช้หม้ออบไอน้ำอัตโนมัติ ( Autoclve ) วิธีการเช่นนี้ เรียกว่า การสเตอริไลเซซั่น ( sterilization ) สำหรับอาหารที่เสื่อมคุณค่าง่ายใช้วิธี พาสเจอไรเซซั่น ( pastgerization ) เช่น นม น้ำส้ม จะใช้ความร้อนเพียง ๖๕ องศา C ในเวลา ๓๐ นาที แล้วทำให้เย็นลงทันที่เหลือเพียง ๑๕ องศา C จะทำให้จุลินทรีย์ตาย

. ใช้ความเย็น ความเย็นเพียง ๐ องศา C จุลินทรีย์จะไม่ตายเพียงแต่หยุดเจริญเติบโตเท่านั้น ถ้าจะทำลายจุลินทรีย์ ต้องใช้ความเย็นต่ำกว่า - ๑๐๐ องศา C

. ใช้ยาหรือสารเคมี

สารเคมีที่ทำลายได้เฉพาะบักเตรีที่ไม่สร้างสปอร์เรียกว่า สารแอนตี้เซปติค ( Antisrptic ) เช่น สบู่ เอทธิลแอลกอฮอล์ ๗๐ % ใช้ล้างแผล ทาผิวหนังก่อนฉีดยา ไฮโดรเจนเปอร์ออิกไชด์ ใช้ล้างแผลและผสมกับน้ำใช้ล้างหู

สารเคมีที่ทำลายจุลินทรีย์ที่สร้างสปอร์ได้เรียกว่า ดิสอินเฟคแทนต์ ( Disinfgectants ) สารเคมีประเภทนี้ไม่ใช้กับร่างกาย เช่น กรดคาร์บอลิก ฟินอล ๕ % ปูนขาว ฟอร์มาลิน ใช้ล้างเครื่องมือ ปูนขาวใช้โรยแอ่งน้ำเน่าบริเวณบ้าน กองขยะหรือสิ่งขับถ่าย ฟอร์มาลิน ๑ ส่วนผสมน้ำ ๕๐ ส่วน ใช้เช็ดพื้นฝาห้อง ได้

. ใช้การกรองผ่าแท่งดินเหนียว บักเตรีผ่านไม่ได้ แต่ไวรัสผ่านได้

. ใช้รังสีอุลตราไวโอเลตจากแสงแดดผ่าน

. การทำให้แห้ง

. ใช้เสียง เสียงที่มีความถี่สูงจะสามารถฆ่าบักเตรีได้

. การอาบรังสีแกรมมา เช่น มันฝรั่ง หัวหอมใหญ่ ฯลฯ พลังงานจากรังสีทำลายทั้งเอนไซม์ของพืชและจุลินทรีย์ให้เสื่อมสลาย